พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงแรงงาน: การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับกุม และองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกงต้องมีลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคน การสอบสวนผู้ที่ไม่ได้ลงชื่อถือว่าไม่ชอบ
คดีฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่ออันยอมความได้นั้นแม้ว่าหนังสือร้องทุกข์จะมีข้อความว่า"จึงได้ร่วมกันมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี"และผู้เสียหายที่มิได้ลงชื่อในหนังสือร้องทุกข์ได้ให้การในชั้นสอบสวนว่าถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงให้หลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไปก็ตามเมื่อปรากฏว่าหนังสือร้องทุกข์นั้นคงมีแต่ลายมือชื่อของบ.เท่านั้นจะฟังว่าผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์ด้วยไม่ได้การสอบสวนต่อมาสำหรับผู้เสียหายที่มิได้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตร2(7),123วรรคสามและ121วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: การมีส่วนร่วมของผู้เสียหาย และผลต่อการสอบสวน
คดีฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่ออันยอมความได้นั้น แม้ว่าหนังสือร้องทุกข์จะมีข้อความว่า "จึงได้ร่วมกันมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี" และผู้เสียหายที่มิได้ลงชื่อในหนังสือร้องทุกข์ได้ให้การในชั้นสอบสวนว่าถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงให้หลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไปก็ตาม เมื่อปรากฏว่าหนังสือร้องทุกข์นั้นคงมีแต่ลายมือชื่อของ บ.เท่านั้น จะฟังว่าผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์ด้วยไม่ได้การสอบสวนต่อมาสำหรับผู้เสียหายที่มิได้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7),123 วรรคสาม และ 121 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554-1555/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของผู้ดูแลทรัพย์ที่ถูกยืมไปและเกิดการยักยอก: ผู้ดูแลมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้
ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ดูแลทรัพย์พิพาทไว้ จำเลยยืมทรัพย์พิพาทไปจากโจทก์ร่วม เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นเพราะการกระทำผิดยักยอกของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในฐานะเป็นผู้ครอบครองดูแลทรัพย์พิพาท มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) (ตามนัยฎีกาที่ 1341/2495,420/2505,562/2505) แม้ในฟ้องจะบรรยายคลาดเคลื่อนว่าใครเป็นเจ้าทรัพย์ ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความต่างกับฟ้อง
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยยืมทรัพย์ไป แล้วทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย ย่อมมีความผิดในทางอาญา มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมทางแพ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อเดือนตุลาคม 2506 และต่อมาประมาณปลายเดือนเมษายน 2507 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันขอยืมเครื่องประดับไปหลายอย่าง (ห้อยคอและกลัดเสื้อรูปดอกไม้แหวนเพชรเม็ดเดียว แหวนเพชรเม็ดเล็กเป็นรูป 4 เหลี่ยมแหวนทับทิมล้อมเพชร กำไลประดับเพชร สร้อยข้อมือนพเก้า จี้เพชรพร้อมสร้อยทองคำขาว แหวนมรกตล้อมเพชร ต่างหูเพชรนาฬิกาข้อมือประดับเพชร) ต้นเดือนมีนาคม 2510 โจทก์ร่วมทั้งสองได้ทวงถามของที่จำเลยยืมไป จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยระหว่างมีนาคม 2510 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเอาทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน" เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำแจ้งความที่มีความว่า "จึงได้มาแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสี่ต่อไป" นั้น เป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกข้อความคำร้องทุกข์ไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันและผู้ร้องทุกข์ได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็นการบันทึกคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123วรรคสาม
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยยืมทรัพย์ไป แล้วทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย ย่อมมีความผิดในทางอาญา มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมทางแพ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อเดือนตุลาคม 2506 และต่อมาประมาณปลายเดือนเมษายน 2507 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันขอยืมเครื่องประดับไปหลายอย่าง (ห้อยคอและกลัดเสื้อรูปดอกไม้แหวนเพชรเม็ดเดียว แหวนเพชรเม็ดเล็กเป็นรูป 4 เหลี่ยมแหวนทับทิมล้อมเพชร กำไลประดับเพชร สร้อยข้อมือนพเก้า จี้เพชรพร้อมสร้อยทองคำขาว แหวนมรกตล้อมเพชร ต่างหูเพชรนาฬิกาข้อมือประดับเพชร) ต้นเดือนมีนาคม 2510 โจทก์ร่วมทั้งสองได้ทวงถามของที่จำเลยยืมไป จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยระหว่างมีนาคม 2510 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเอาทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน" เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำแจ้งความที่มีความว่า "จึงได้มาแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสี่ต่อไป" นั้น เป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกข้อความคำร้องทุกข์ไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันและผู้ร้องทุกข์ได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็นการบันทึกคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123วรรคสาม