พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบธุรกิจ และการประเมินภาษีเงินได้ที่ถูกต้อง
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเป็นผู้ประกอบการค้าภายใต้ประมวลรัษฎากร
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่า พ่อค้าในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษี
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่าพ่อค้าในมาตรา 165 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากที่ดินสวนหมาก การตีราคาทุน การหลีกเลี่ยงภาษี และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมากและได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามประมวลรัษฎากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร
"การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8 (32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่นั้น กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้ และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใด ๆ "ผู้ผลิต" หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงไม่ใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิต จะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้
"การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8 (32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่นั้น กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้ และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใด ๆ "ผู้ผลิต" หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงไม่ใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิต จะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามกฎหมายภาษีอากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร "การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่แล้ว กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใดๆ "ผู้ผลิต"หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงมิใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตจะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้