พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: การพิสูจน์ที่มาของเงินในบัญชีธนาคาร และการประเมินเงินได้พึงประเมิน
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินยังไม่ถูกต้อง มิใช่เพราะเห็นว่าโจกท์ไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม ซึ่งถือไม่ได้ว่าการเรียกตรวจสอบตามหมายเรียกเสร็จสิ้นลงแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินใหม่ให้โจทก์ชำระภาษีตามที่เห็นว่าถูกต้องได้โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 อีกครั้ง แม้การประเมินครั้งหลังจะทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประเมินครั้งหลังยังเป็นการประเมินในเรื่องเดิมเกี่ยวกับยอดเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินอาศัยพยานหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบมาแล้วเท่าที่มีอยู่เดิมในการประเมินครั้งแรกเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณามิใช่การประเมินในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยตรวจสอบไต่สวนมาก่อน จึงไม่จำต้องแจ้งโจทก์มาชี้แจงแสดงหลักฐานเพิ่มเติม
ข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์เป็นไปในทำนองเดียวกับที่กล่าวในคำฟ้องโดยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร วิธีการประเมินมิใช่ขั้นตอนปกติด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
บัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์เปิดไว้ หากโจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีมีส่วนที่เป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้น เงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงมาก โจทก์อ้างว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ซึ่งตามปกตินิติบุคคลย่อมต้องมีการจัดทำบัญชีรับจ่าย บัญชีแสดงรายการเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งงบการเงิน แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเงินของห้างมีที่มาอย่างไร แต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด การโอนเงินเข้าบัญชีเป็นเงินสำหรับหมุนเวียนในการประกอบการค้าของห้างโจทก์ก็เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งยอดเงินในวันสุดท้ายของปีเป็นหนี้ธนาคารหรือคงเหลือ 5,000 บาท ก็ไม่อาจสรุปว่าเงินฝากในบัญชีไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีมีส่วนที่เป็นของห้างจำนวนเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำยอดเงินฝากเข้าบัญชีภายหลังหักจำนวนเงินที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของห้างเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ในอัตราร้อยละ75 โดยงดเบี้ยปรับ จึงถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
ข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์เป็นไปในทำนองเดียวกับที่กล่าวในคำฟ้องโดยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร วิธีการประเมินมิใช่ขั้นตอนปกติด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
บัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์เปิดไว้ หากโจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีมีส่วนที่เป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้น เงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงมาก โจทก์อ้างว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ซึ่งตามปกตินิติบุคคลย่อมต้องมีการจัดทำบัญชีรับจ่าย บัญชีแสดงรายการเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งงบการเงิน แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเงินของห้างมีที่มาอย่างไร แต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด การโอนเงินเข้าบัญชีเป็นเงินสำหรับหมุนเวียนในการประกอบการค้าของห้างโจทก์ก็เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งยอดเงินในวันสุดท้ายของปีเป็นหนี้ธนาคารหรือคงเหลือ 5,000 บาท ก็ไม่อาจสรุปว่าเงินฝากในบัญชีไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีมีส่วนที่เป็นของห้างจำนวนเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำยอดเงินฝากเข้าบัญชีภายหลังหักจำนวนเงินที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของห้างเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ในอัตราร้อยละ75 โดยงดเบี้ยปรับ จึงถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการขายสิทธิการเช่าและการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระบุปีภาษี รายละเอียดแสดงการคำนวณภาษี ภาษีที่ต้องชำระ เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งแสดงเหตุผลที่ประเมินไว้ท้ายหนังสือดังกล่าว สำหรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายการยอดขายและภาษีขาย ผลการตรวจยอดขายในเดือนพิพาท ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ยอดแตกต่างภาษีขาย รายการคำนวณภาษี รายการเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ รวมภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ทั้งมีเหตุผลประเมินที่ด้านหลังและข้อควรทราบระบุว่า โจทก์มีรายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ และเป็นกรณีประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับคำวินิจฉัย อุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. และบริษัทดังกล่าวตีราคาสิทธิการเช่าเป็นหุ้นให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องนำเงินลงทุนเป็นการแลกเปลี่ยน โจทก์จึงได้รับประโยชน์เท่ากับมูลค่าสิทธิที่ระบุในงบการเงินของบริษัท ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าบริษัท น. ให้สัตยาบันเกี่ยวกับสัญญาหรือค่าใช้จ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อยู่อาศัยเดิมก่อนการจัดตั้งบริษัท จึงถือเอารายจ่ายดังกล่าวนั้นมาตีราคาเป็นมูลค่าหุ้นของโจทก์ไม่ได้ เจ้าพนักงานหักค่าใช้จ่ายการโอนสิทธิการเช่าตามหลักฐานที่ปรากฏตามความจำเป็นและสมควร โดยคำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของเนื้อที่ที่ดินถือว่าเป็นธรรมแล้ว เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์โจทก์นำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2549 โดยขอเครดิตภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 247) พ.ศ.2534 และเจ้าพนักงานได้ประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนซื้อ อากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแล้ว เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเงินได้ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับรายจ่าย เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลดได้ จึงให้โจทก์เสียภาษีและเงินเพิ่มตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมีความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นมูลค่าหุ้น กรณีถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1 (8) (9) แห่ง ป.รัษฎากร มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/3 (1) เจ้าพนักงานประเมินตามมูลค่าที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทเป็นการถูกต้องแล้ว เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลด โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น เห็นได้ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจครบถ้วนแล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ถือครองเป็นระยะเวลาสั้นมากไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อมาเพื่อจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญหรือได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินสมกับเนื้อที่ แต่หลังจากซื้อที่ดิน 1 เดือน โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์ไม่มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณตามมาตรา 48 (1) และ (2) และไม่อาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร และมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกัน โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ผู้เช่าได้กระทำลงในที่ดินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารพาณิชย์ อาคารอพาร์ตเมนต์และอาคารสรรพสินค้าที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่เช่าออกให้บุคคลอื่นเช่า จึงมีลักษณะต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาเข้าสืบสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว แม้โจทก์ทำสัญญากับกรมการศาสนาโดยเป็นผู้เช่า ก็เป็นการสืบสิทธิของ ป. เจ้ามรดกผู้เช่าเดิม แต่สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสินสมรส จึงเป็นมรดกของ ป. เพียงกึ่งหนึ่ง เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว และบริษัท น. ออกหุ้นตามมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าหุ้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. ถือว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงกึ่งหนึ่ง
ป.ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ก่อน จ. และ ฉ. ทำสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนกับ ป.และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท น. แสดงว่า ป. ทำสัญญาในฐานะส่วนตัว มิใช่ตัวแทนบริษัทดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนเป็นเพียงหน่วยภาษี มิใช่มีสภาพบุคคลที่จะเป็นตัวการดังที่โจทก์อ้าง
ค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่กรมการศาสนาไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายโฉนด โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. เฉพาะโฉนดเลขที่ 1946 การที่เจ้าพนักงานประเมินเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเนื้อที่ดินแต่ละโฉนดจึงสมเหตุผล ส่วนค่ารื้อถอนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมเจ้าพนักงานประเมินยอมให้ถือเป็นรายจ่ายของที่ดินแต่ละโฉนดตามจำนวนเงินและหลักฐานของแต่ละแปลงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิการเช่าทั้งหมด เจ้าพนักงานประเมินมิได้โต้แย้งว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี แม้โจทก์มีเงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ก็มิได้ห้ามโจทก์หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน การที่เจ้าพนักงานประเมินยอมให้นำรายจ่ายดังกล่าวเต็มจำนวนมาคำนวณภาษีเงินได้จึงเหมาะสมและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
มาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร ที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ใช้เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิใช่เป็นกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นผลผูกมัดถึงการวินิจฉัยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. สิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งเป็นทางการค้าหรือหากำไรต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งไม่มีกรณีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา โจทก์ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ค่าเช่าบ้านที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์การประเมินข้อนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้ ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ถือครองเป็นระยะเวลาสั้นมากไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อมาเพื่อจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญหรือได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินสมกับเนื้อที่ แต่หลังจากซื้อที่ดิน 1 เดือน โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์ไม่มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณตามมาตรา 48 (1) และ (2) และไม่อาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร และมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกัน โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ผู้เช่าได้กระทำลงในที่ดินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารพาณิชย์ อาคารอพาร์ตเมนต์และอาคารสรรพสินค้าที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่เช่าออกให้บุคคลอื่นเช่า จึงมีลักษณะต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาเข้าสืบสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว แม้โจทก์ทำสัญญากับกรมการศาสนาโดยเป็นผู้เช่า ก็เป็นการสืบสิทธิของ ป. เจ้ามรดกผู้เช่าเดิม แต่สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสินสมรส จึงเป็นมรดกของ ป. เพียงกึ่งหนึ่ง เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว และบริษัท น. ออกหุ้นตามมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าหุ้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. ถือว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงกึ่งหนึ่ง
ป.ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ก่อน จ. และ ฉ. ทำสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนกับ ป.และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท น. แสดงว่า ป. ทำสัญญาในฐานะส่วนตัว มิใช่ตัวแทนบริษัทดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนเป็นเพียงหน่วยภาษี มิใช่มีสภาพบุคคลที่จะเป็นตัวการดังที่โจทก์อ้าง
ค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่กรมการศาสนาไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายโฉนด โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. เฉพาะโฉนดเลขที่ 1946 การที่เจ้าพนักงานประเมินเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเนื้อที่ดินแต่ละโฉนดจึงสมเหตุผล ส่วนค่ารื้อถอนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมเจ้าพนักงานประเมินยอมให้ถือเป็นรายจ่ายของที่ดินแต่ละโฉนดตามจำนวนเงินและหลักฐานของแต่ละแปลงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิการเช่าทั้งหมด เจ้าพนักงานประเมินมิได้โต้แย้งว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี แม้โจทก์มีเงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ก็มิได้ห้ามโจทก์หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน การที่เจ้าพนักงานประเมินยอมให้นำรายจ่ายดังกล่าวเต็มจำนวนมาคำนวณภาษีเงินได้จึงเหมาะสมและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
มาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร ที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ใช้เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิใช่เป็นกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นผลผูกมัดถึงการวินิจฉัยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. สิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งเป็นทางการค้าหรือหากำไรต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งไม่มีกรณีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา โจทก์ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ค่าเช่าบ้านที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์การประเมินข้อนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้ ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินฝากและเงินเดือนที่ไม่ได้ยื่นแบบชำระภาษี และการหลีกเลี่ยงภาษีร่วมกันระหว่างผู้รับเงินได้และนายจ้าง
เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินเดือนและค่าน้ำมันรถยนต์ที่ได้รับจากห้าง ส. ซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่ง ป.รัษฎากร และนำเงินฝากเข้าบัญชีโจทก์ซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำสืบพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) วิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีนั้น เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีตามมาตรา 19 ถึง 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินโดยวิธีพิเศษ โดยกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้น อันจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเสียก่อนตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (8) เป็นจำนวนตามการประเมินในแต่ละปีภาษีพิพาท ซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่ามิใช่เงินได้ของโจทก์ เงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์มีรายการเงินฝากในบัญชีซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปีตามมาตรา 56 ทวิ
แม้ห้าง ส. มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษี แต่โจทก์ไม่ยื่นแบบและชำระภาษี โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน
โจทก์และห้าง ส. ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่สมควรงดเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มยังไม่มีเหตุอันสมควรให้งดหรือลด
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (8) เป็นจำนวนตามการประเมินในแต่ละปีภาษีพิพาท ซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่ามิใช่เงินได้ของโจทก์ เงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์มีรายการเงินฝากในบัญชีซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปีตามมาตรา 56 ทวิ
แม้ห้าง ส. มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษี แต่โจทก์ไม่ยื่นแบบและชำระภาษี โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน
โจทก์และห้าง ส. ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่สมควรงดเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มยังไม่มีเหตุอันสมควรให้งดหรือลด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ทดรองจ่ายให้ผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลย (ผู้ขาย) เป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด ฉะนั้น ตาม ป.รัษฎากร จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้าน (ผู้ซื้อ) อยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้นเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8369/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้จากการเป็นพิธีกร ต้องมีบทบาทการแสดงเทียบเท่ากับนักแสดงและมีสัดส่วนมากกว่าบทบาทดำเนินรายการ
เงินได้จากการเป็นพิธีกรที่มีบทบาทของการเป็นผู้ดำเนินรายการระคนปนไปกับบทบาทของการเป็นนักแสดงที่จะยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง (43) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้นั้นจะต้องมีบทบาทของการแสดงระคนปนไปถึงระดับเทียบเท่ากับบทบาทการแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ และจะต้องมีบทบาทของการแสดงที่มีสัดส่วนมากกว่าการเป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับรายการ M. ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์มีการแสดงถึงระดับเทียบเท่ากับบทบาทของนักแสดง สำหรับรายการ ค. และรายการ พ. และการเป็นพิธีกรเปิดตัวผลิตภัณฑ์ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ความสามารถแตกต่างจากการเป็นพิธีกรโดยทั่วไปอย่างไร เงินได้พึงประเมินของโจทก์จากการเป็นพิธีกรรายการดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินได้จากการแสดงของนักแสดง โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และธุรกิจเฉพาะ: การยกเลิกหุ้นส่วนและการคืนเงินลงทุน ไม่ใช่การขายทรัพย์สิน
สำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางฟังมาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับข้อหาอื่นที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันเกินกว่า 50,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และทุกข้อหาตามฟ้องเกิดจากการที่โจทก์ได้รับเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับพิพาทเพียงฉบับเดียว แต่โจทก์ได้รับเงินเป็นงวดๆ และถูกประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายเดือนที่ได้รับเงินมาและถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปีภาษีที่ได้รับเงินมานั้น หากโจทก์ผู้ถูกเรียกเก็บภาษีไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าว ย่อมเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปัญหาว่าบุคคลใดต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีโดยรับฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงเดียวกันนั้นได้สำหรับข้อหาที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาสำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถึอได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง การที่ผู้ซื้อทรัพย์ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 เพื่อนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยและต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีกทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา (50) (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการหักเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อในการขอคืนเงินที่ชำระซ้ำ
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่จดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วย และต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีก ทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้นที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการจ่ายเงิน