คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 40 (8)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้าง และการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 5052 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้างและประเด็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเอง ส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50 52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า กรณีการก่อสร้างและขายอสังหาริมทรัพย์ การหักค่าใช้จ่าย และการตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50,52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19 แล้ว แม้ตามหมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพัง โดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีของบริษัทผู้ประกอบการป่าไม้ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตาม ที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัด ฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรง ตาม วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้อง คำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้วโดย อ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้ รายได้เฉพาะ ค่าใบอนุญาตทำไม้ตาม สัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่ง ต้องเป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตาม คำฟ้องโจทก์แตกต่าง กับอายุความตาม ที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตาม อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: การคำนวณรายได้จากธุรกิจทำไม้ และอายุความทางภาษี
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตามที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัดฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องคำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้ว โดยอ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้รายได้เฉพาะค่าใบอนุญาตทำไม้ตามสัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตามคำฟ้องโจทก์แตกต่างกับอายุความตามที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความทางภาษี: เงินชดเชยที่ดินและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาขายที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษี
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท.และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอบแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภคและเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้นเงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและตามข้อสัญญาโจทก์ยินยอมให้บริษัท ท. และบริษัท บ.ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากันบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าวดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชยและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา ๔๒ (๙)
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท. และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอยแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภค และเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้น เงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน และตามข้อสัญญายินยอมให้บริษัท ท.และบริษัท บ. ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากับบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าว ดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อยกเว้นภาษี: ภาระการพิสูจน์และการยื่นพยานหลักฐาน
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,00 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้การโอนสิทธิเช่าตึกแถวพิพาาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การไม่จัดทำบัญชีและสละสิทธิในการแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย ทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้ว
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ.2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปีโจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตราร้อยละ85 ตามมาตรา 8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหัก การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การสละสิทธิในการนำหลักฐานแสดงค่าใช้จ่าย และการประเมินโดยเทียบเคียงอัตราเหมา
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปี โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตรา ร้อยละ 85 ตามมาตรา8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2505 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหัก การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว.
of 11