พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักภาษีจากการขายทอดตลาด: สิทธิของเจ้าหนี้และหน้าที่ของผู้ซื้อ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้เป็นค่าภาษีเงินได้
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ใช่จ่ายให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50(5)(ข)และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้นเงินที่ผู้ซื้อหักไว้เป็นภาษีเพื่อนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งผู้ซื้อมอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้สุทธิจากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของเจ้าหนี้และหน้าที่ของผู้ซื้อ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้เป็นค่าภาษีเงินได้
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา50(5)(ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา50(5)(ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขการขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อรับภาระภาษีแทนจำเลยได้ ไม่ขัดกฎหมาย
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแม้จะเป็นเงินได้ของจำเลยซึ่งจำเลยต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระภาษีดังกล่าวแทนจำเลยดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดที่ให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่เป็นโมฆะตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ) ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็ผูกพันโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตาม จะอ้างหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้เสียภาษีนั้นมาปัดความรับผิดนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากการขายที่ดิน: กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันที่ทำธุรกรรมสำคัญกว่ากฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ซื้อ และชำระราคาค่าที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาล เจ้าของที่ดิน ผู้ได้รับเงินค่าที่ดินได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระภาษีเงินได้เนื่องจากการขายที่ดิน แม้ต่อมาจะมีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 บัญญัติให้ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินต้องเสียภาษีเงินได้ และให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ก็หมายความว่า ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้นที่จะต้องเสียภาษีเงินได้
เมื่อผู้รับเงินได้ไม่จำต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่ได้รับจาก การขายที่ดิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ไว้เพื่อนำมาชำระ แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์ขอจดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังนั้น จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องหักภาษีเงินได้ไว้จากผู้รับเงินได้ โดยจำเลยจะอาศัยกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
เมื่อผู้รับเงินได้ไม่จำต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่ได้รับจาก การขายที่ดิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ไว้เพื่อนำมาชำระ แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์ขอจดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังนั้น จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องหักภาษีเงินได้ไว้จากผู้รับเงินได้ โดยจำเลยจะอาศัยกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการซื้อขายที่ดิน: ใช้กฎหมาย ณ วันที่ซื้อขาย ไม่ใช่กฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ซื้อ และชำระราคาค่าที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาล เจ้าของที่ดิน ผู้ได้รับเงินค่าที่ดินได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระภาษีเงินได้เนื่องจากการขายที่ดิน แม้ต่อมาจะมีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2525 บัญญัติให้ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินต้องเสียภาษีเงินได้ และให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ก็หมายความว่า ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้นที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ เมื่อผู้รับเงินได้ไม่จำต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่ได้รับจาก การขายที่ดิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ไว้เพื่อนำมาชำระ แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์ขอจดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังนั้น จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้หักณ ที่จ่ายในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องหักภาษีเงินได้ไว้จากผู้รับเงินได้ โดยจำเลยจะอาศัยกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการซื้อขายฝาก: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐาน และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล ในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะ ในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมินจากหน้าที่/ตำแหน่งงาน, วิชาชีพอิสระ, และเงินที่จ่ายให้เมื่อออกจากงาน
การคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่าจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ดังนั้น การที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดระเบียบโดยวิธีแยกเงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวออกเป็นสองประเภท ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2)แห่งประมวลรัษฎากรฯ จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว เพราะวิธีคำนวณหรือจ่ายเงินได้ไม่เหมือนกัน
เงินได้ของโจทก์ที่ได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นรายเดือน อันเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานและลูกจ้าง ณ สถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯนั้น เป็นเงินได้ที่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(2) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ให้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิวรรคหนึ่ง (ความในวรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
เงินได้จากคลีนิคซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) หาใช่เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ ตามมาตรา 40(8) ไม่
เงินได้ของโจทก์ที่ได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นรายเดือน อันเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานและลูกจ้าง ณ สถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯนั้น เป็นเงินได้ที่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(2) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ให้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิวรรคหนึ่ง (ความในวรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
เงินได้จากคลีนิคซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) หาใช่เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ ตามมาตรา 40(8) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับเงินที่ถูกหักเป็นค่าธรรมเนียมในการประกอบธุรกิจ
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่