คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 124

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11858/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ป.วิ.อ. มาตรา 28 บัญญัติให้ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ โดยในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลได้โดยไม่จำต้องมีการสอบสวนความผิดนั้นมาก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ทั้งต้องเป็นการสอบสวนที่ไม่บกพร่องหรือผิดพลาดในส่วนซึ่งเป็นสาระสำคัญด้วย เพราะมิเช่นนั้นแล้วต้องถือว่า เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนความผิดที่ได้กระทำลงในราชอาณาจักรไว้ในมาตรา 2 (6) และมาตรา 18 กับมาตรา 19 โดยมีสาระสำคัญว่า การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ทั้งการสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า การกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิดฐานร่วมกันยักยอก คือการร่วมกับจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 21/2555 ของศาลชั้นต้น นำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. โดยระบุว่า เหตุเกิดที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาในชั้นพิจารณากลับได้ความตามคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ว. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์ว่า การจำนำรถยนต์อันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดของจำเลยเกิดขึ้นที่เขตเพชรเกษม อันเป็นท้องที่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ดังนี้ พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษมซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่อื่นนอกจากนี้ย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนได้ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร และถูกจับกุมดำเนินคดีนี้โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล หนองค้างพลู เช่นนี้ แม้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยจะเป็นผู้รับคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ทั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีเขตรับผิดชอบในท้องที่ซึ่งบริษัทผู้เสียหายตั้งอยู่ แต่เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม กำหนดให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยทำการสอบสวนจำเลย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 จึงเป็นกรณี ที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียว มิใช่หลายกรรม ทั้งการกระทำอันเป็นความผิดฐานยักยอกตามที่กล่าวหาคือการที่ผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนั้น ความผิดฐานยักยอกย่อมเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยและจ่าสิบตำรวจ อ. ร่วมกันนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. การกระทำของจำเลยจึงหาใช่ความผิดต่อเนื่องที่ได้กระทำในหลายท้องที่ ทั้งกรณีซึ่งจะถือว่าเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายแต่เฉพาะเมื่อสภาพและลักษณะแห่งการกระทำความผิดนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดในหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน โดยมิได้หมายรวมถึงกรณีที่เป็นการแน่นอนอยู่แล้วว่า ความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด ดังนี้ แม้ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 และมาตรา 124 ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน ย่อมมีผลให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงแรงงาน: การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับกุม และองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดเช็ค: ต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายโดยตรง จึงมีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดี
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้วได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมป. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารและธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทจึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับเช็คลดชั้น กรณีไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม ป.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคาร และธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลแม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง และผู้รับมอบอำนาจแจ้งความหลังพ้นกำหนด
ขณะ ร. ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ร. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ใด ๆ ต่อพนักงานสอบสวนในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญาต่อทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งกระทำการใด ๆ เพื่อให้กิจการดังกล่าวสำเร็จ และในตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจยังระบุว่าการเคหะแห่งชาติยอมรับผิดตามที่ พ. ได้กระทำไปภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบทุกประการ การมอบอำนาจของ ร. จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปในนามของการเคหะแห่งชาติโจทก์ร่วม แม้ พ. ไปร้องทุกข์คดีนี้เมื่อ ร. พ้นตำแหน่งไปแล้ว หนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลใช้บังคับอยู่ พ. จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความเท็จและละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา: การกระทำโดยสุจริตเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
จำเลยที่1ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้หรือทำให้ปรากฎที่สินค้าหีบห่อวัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา272(1)เท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา273และมาตรา274อันเป็นความผิดเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าในอันที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแล้วหรือไม่เมื่อจำเลยที่1มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวแล้วแม้จำเลยที่1จะไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวตามกฎหมายจำเลยที่1ก็ย่อมมีสิทธิ์ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รองเท้าฟ้องน้ำตราม้าดาวของจำเลยที่1และตราหมีสู้งูของโจทก์ที่1ต่างมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ภายในวงกลมเล็กและวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่อีกชั้นหนึ่งระหว่างวงกลมทั้งสองมีอักษรโรมันอยู่ด้านบนและมีอักษรไทยอยู่ด้านล่างเหมือนกันตัวอักษรดังกล่าวและวงกลมเล็กกับวงกลมใหญ่มีขนาดเท่าๆกันการวางตำแหน่งรูปและรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกันจะผิดกันก็แต่เฉพาะรูปสัตว์ที่อยู่ในดาวห้าแตกกับตัวอักษรโรมันและอักษรไทยเท่านั้นส่วนหูรองเท้านั้นนอกจากจะมีรูปและรอยประดิษฐ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วหูรองเท้าที่โจทก์ที่1ผลิตยังมีรูปเกือกม้าเช่นเดียวกับของจำเลยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวม้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวหมีและงูที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกทั้งถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุรองเท้าของโจทก์ทั้งสี่ก็มีลายเส้นและลวดลายเหมือนกันและโค้งไปทางเดียวกันขนาดเส้นโค้งก็โตเท่ากันกับของจำเลยที่1สีของลายเส้นก็เหมือนกันยิ่งสนับสนุนถึงมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอทำให้จำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้มีอำนาจทำแทนจำเลยที่1เชื่อโดยสุจริตใจว่าโจทก์ทั้งสี่ได้นำรูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1ไปใช้กับรองเท้าฟ้องน้ำที่โจทก์ทั้งสี่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าของตนโดยสุจริตมาได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ส่วนขั้นตอนหลังจากที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่มีส่วนหรือไม่มีสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนการกระทำของจำเลยที่1ถึงที่3จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหลังล้มละลาย: มูลหนี้เป็นโมฆะ, ไม่มีอำนาจฟ้อง
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 91 ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้ว จึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา 91 ไม่ แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็ค ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายดังนั้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย ตามป.วิ.อ. มาตรา 28 จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิเรียกร้อง ผู้สั่งจ่ายทำผิดพ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา91ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วจึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา91ไม่แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา24โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมอันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะโจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา28จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา124โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา121และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจในฐานะผู้เสียหายหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ยานยนต์ฯ จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้างฯผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้อยทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้างฯ ผู้เสียหายอย่างไรและไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้างฯ ผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฎรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้างฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีอาญา: เจตนาการร้องทุกข์แทนผู้อื่นและผู้เสียหายที่แท้จริง
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ยานยนต์ ฯจำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้าง ฯ ผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้าง ฯ ผู้เสียหายอย่างไร และไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้าง ฯผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้าง ฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 4