พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีละเมิดจากการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินปลอม หลักการแยกจากกันของหนี้
กรณีโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดทางละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งโจทก์ให้การปฏิเสธ เมื่อคดีถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดต่อผู้เสียหายและโจทก์วางเงินชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจำเลยผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์วางเงินดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 9
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน แม้คำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ก็เป็นความรับผิดในฐานะนิติบุคคลเพื่อเยียวยาแก่ผู้เสียหายไปก่อนแล้วจึงให้โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 เมื่อโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิไล่เบี้ยได้ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่มีผลใช้บังคับก่อนเกิดเหตุคดีนี้จึงต้องบังคับตาม มาตรา 8 วรรคสี่ ที่มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสามผู้ทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ จำเลยทั้งสามแต่ละคนจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน แม้คำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ก็เป็นความรับผิดในฐานะนิติบุคคลเพื่อเยียวยาแก่ผู้เสียหายไปก่อนแล้วจึงให้โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 เมื่อโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิไล่เบี้ยได้ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่มีผลใช้บังคับก่อนเกิดเหตุคดีนี้จึงต้องบังคับตาม มาตรา 8 วรรคสี่ ที่มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสามผู้ทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ จำเลยทั้งสามแต่ละคนจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้าง กรณีเหตุเกิดก่อน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มีผลใช้บังคับ
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดดังกล่าวต้องบังคับตามอายุความของ ป.พ.พ. ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม การพิจารณาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ จึงต้องบังคับตามหลักเกณฑ์ของ ป.พ.พ. มิใช่หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้แคชเชียร์เช็คของโจทก์สูญหายและโจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้แคชเชียร์เช็คของโจทก์สูญหายและโจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30