พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน?
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดย ผู้ประกันทุกคนรวมกันยื่นมา และที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อย จำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกัน หลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวน เพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลย ชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกัน ในวงเงิน 500,000 บาท ทั้งในสัญญาประกันข้อ 6 ก็มีข้อความ ระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ดังนั้น ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัวจำเลยถึงแก่ความตายก่อนนัด - ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนถึงวันนัดพิจารณาคดีของศาล ผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่ หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยไม่นำตัวจำเลยมาศาลตามนัดในเวลาต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกันเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนวันนัด ศาลไม่สามารถปรับผู้ประกันได้
เมื่อ จำเลย ตาย ตั้งแต่ ก่อน วันนัด พิจารณา คดี ของ ศาล ผู้ประกัน จำเลย จะ รู้ หรือไม่ รู้ ว่า จำเลย ตาย จริง หรือไม่ หรือ ผู้ประกัน จำเลย จะ ตั้งใจ หรือไม่ ตั้งใจ ที่ จะ นำ จำเลย มา ศาล ตาม นัด หรือไม่ ก็ ไม่มี ทาง ที่ ผู้ประกัน จำเลย จะ นำตัว จำเลย มา ส่ง ศาล ได้ การ ที่ ผู้ประกัน จำเลย มา ศาล ตาม นัด ใน เวลา ต่อมา จึง ไม่ใช่ ความผิด ของ ผู้ประกัน จำเลย ผู้ประกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญาประกัน ศาล ปรับ ผู้ประกัน จำเลย ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัวผู้ต้องหาเสียชีวิตก่อนนัดพิจารณาคดี ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนวันนัดพิจารณาคดีของศาลผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยมาศาลตามนัดในเวลา ต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาและหนังสือมอบอำนาจ: การปิดอากรแสตมป์และการใช้เป็นพยานหลักฐาน
สัญญาประกันเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีหลักประการตามมาตรา112แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิใช่เป็นสัญญาค้ำประกันซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680และมิใช่ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา104ไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา118แห่งประมวลรัษฎากรจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ หนังสือมอบอำนาจซึ่งจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2ไปประกันตัวผู้ต้องหามีข้อความว่าจำเลยที่1ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกันตัวจ.ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการและจำเลยที่1ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบอำนาจได้ทำไปตามที่มอบอำนาจนี้ภายในวงเงินไม่เกินราคาที่ดินโฉนดข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการจึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ก) คำว่า"กระทำ"ในบทนิยามมาตรา103แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อใช้เกี่ยวกับตราสารหมายความว่าการลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การที่จำเลยที่2ผู้รับมอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อตามที่พนักงานสอบสวนนัดให้ส่งตัวผู้ต้องหาหลายครั้งที่ด้านหลังสัญญาประกันจึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2กระทำการมากกว่าครั้งเดียวแต่เป็นกรณีที่จำเลยที่2ต้องปฎิบัติตามเงื่อนเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนดให้ผู้ประกันต้องปฎิบัติตามในการส่งตัวผู้ต้องหาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายประกัน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาประกัน ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินสมควรนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันด้วยเอกสารปลอม: จำเลย 2 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้หนังสือมอบอำนาจเป็นเท็จ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหนังสือมอบอำนาจปลอมว่าจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและยินยอมให้จำเลยที่ 2 ประกันตัวผู้ต้องหาไป หลังจากนั้นจำเลยที่ 2ได้ไปขอผัดส่งตัวผู้ต้องหากับโจทก์หลายครั้ง โดยเป็นที่ตระหนักดีแก่จำเลยที่ 2 ว่าตนเองมิได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวคดีเช็ค และผลบังคับใช้สัญญาประกันเกินอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดย มีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค เมื่อผู้ต้องหาออกเช็คเป็นความผิดจำนวนเงิน 93,000 บาท จำเลยเป็นผู้ขอประกัน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงิน 93,000 บาท การที่พนักงานสอบสวนกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน 200,000 บาทซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็ค เป็นการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน จึงใช้บังคับผู้ประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือ 93,000 บาท ตามจำนวนเงินในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดเงินประกันและผลกระทบจากความบกพร่องในการแจ้งเตือนผู้ประกัน
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) นั้น เป็นแต่การกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวนใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับในสัญญาประกันภัยเนื่องจากจำเลยพยายามติดตามตัวผู้ต้องหา แม้จะล่าช้า
หลังจากผิดสัญญาประกัน จำเลยนายประกันได้พยายามสืบหาผู้ต้องหาและได้จ้างผู้อื่นช่วยสืบหาจนได้ตัวผู้ต้องหาส่งให้แก่โจทก์ดำเนินคดี แม้จะใช้เวลาเกือบ 2 ปี ความเสียหายของโจทก์ก็มีน้อยกว่าที่โจทก์ดำเนินการเอง สมควรลดค่าปรับให้แก่จำเลย.