คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: การผิดนัดของจำเลยทำให้ผู้ร้องผิดสัญญาประกัน และศาลมีอำนาจปรับได้
ผู้ร้องทำสัญญาประกันตัวจำเลยคดีอาญาไปจากศาลมีข้อความว่า ในระหว่างประกันผู้ร้องหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นผู้ร้องยอมใช้เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเซ็นทราบวันนัดของศาลแล้ว จำเลยไม่มาศาลตามนัด เพราะหลงลืมจำวันนัดผิด อันเป็นความผิดของจำเลยเอง ก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามนัดของศาล และต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันได้ประพฤติผิดข้อสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรได้แล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัดศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลยก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวคดีอาญา: ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด แม้ผู้ประกันไม่ได้รับหมายเรียก
ผู้ร้องทำสัญญาประกันตัวจำเลยคดีอาญาไปจากศาลมีข้อความว่า ในระหว่างประกันผู้ร้องหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นผู้ร้องยอมใช้เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเซ็นทราบวันนัดของศาลแล้ว จำเลยไม่มาศาลตามนัด เพราะหลงลืมจำวันนัดผิด อันเป็นความผิดของจำเลยเอง ก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามนัดของศาล และต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันได้ประพฤติผิดข้อสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรได้แล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัด ศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลย ก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด และอำนาจโจทก์ของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด. จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา.
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ. เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ. การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์. หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่. เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499).
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่. ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน.จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้. ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้.(อ้างฎีกาที่701/2498).
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน. เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน. และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้.(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492).
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้. จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ. เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ.เป็นการผิดนัด. ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระเป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามสัญญา และอำนาจโจทก์
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้องหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่ 701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ เป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวคดีอาญา: สัญญาเป็นอันระงับเมื่อผู้ประกันถึงแก่กรรมก่อนเกิดหนี้ปรับไหม
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันตายลงโดยยังไม่มีหนี้ปรับไหมฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวระงับเมื่อผู้ประกันเสียชีวิตก่อนผิดสัญญา
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน. เมื่อผู้ประกันตายลงโดยยังไม่มีหนี้ปรับไหมฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น. สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวคดีอาญาเป็นสัญญาเฉพาะตัว เมื่อผู้ประกันเสียชีวิตก่อนผิดสัญญา สัญญาระงับและคืนหลักประกันได้
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันตายลงโดยยังไม่มีหนี้ปรับไหมฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนในฐานะบุคคลธรรมดาและหน้าที่ตามกฎหมาย
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา และการผิดสัญญาจากการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว
of 9