คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การอุทิศที่ดินให้กรมป่าไม้ และสิทธิของผู้ครอบครองเดิม
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาล มีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่า โจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินให้แก่ กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการ กรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอ แก่การวินิจฉัยทั้งแม้หากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของ กรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ใน ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์ อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ดังนั้นศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิ ในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ ยังไม่ได้วินิจฉัยมา แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมา เสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การกำจัด สิทธิฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่าโจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินฉบับที่ 14/2494 ให้แก่กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการกรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ทั้งหากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้องโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ส่วนปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การส่งหมายนัดไปยังทนายความหรือจำเลยโดยวิธีธรรมดา
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรก ในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่ง ให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรม เสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมี ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้น การแจ้งวันนัดพิจารณา สืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะ ส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือ ของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ การที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่ หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทน จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ของกฎหมาย ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 มีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการ สืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ เห็นสมควรตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติ ให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนา หรือสำนักทนายความ
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 79
การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้ คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยาน เฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไป นัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความ ของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่าย จำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่ง โดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศ แจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาล เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำ ที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบอันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อ ที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษา คดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย, จำเป็นต้องไต่สวนและรับฟังทุกฝ่าย
คำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของจำเลย อ้างว่าพนักงานของโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์สนิทสนมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาขายทอดตลาดในครั้งแรก คำร้องมีข้อความครบถ้วนแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองแล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการไม่ชอบ แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องและสำเนาให้ทุกฝ่ายคัดค้าน แล้วทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้นก็ยังไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาทรัพย์พิพาทในคดีรุกล้ำที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยสร้างบ้านในที่ดินของจำเลย ต้องถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาเงินได้ในที่ดินพิพาทตามฟ้อง การพิจารณาว่าคดีนี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์ที่พิพาทว่ามีราคาเท่าใดแต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าศาลทั้งสองสั่งให้คู่ความตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด แต่กลับวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองโดยเห็นว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทและเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วน แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาทุนทรัพย์ในคดีพิพาทที่ดิน: ศาลฎีกายกข้อห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ชี้กระบวนการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารที่พักอาศัยของจำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินของโจทก์และปรับแต่งที่ดินของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยทั้งสองกระทำซ้ำอีก จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) เนื้อที่ 1 งาน 46 ตารางวา จาก อ. แล้วจำเลยปลูกสร้างบ้านเรือนลงบนที่ดินดังกล่าว จำเลยหาได้ปลูกเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินที่ซื้อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยตลอดมา จึงเป็นคำให้การกล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านรุกล้ำ อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาเงินได้ในที่ดินพิพาท
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องถือตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์ที่พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งให้คู่ความตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทดังกล่าว และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าว แต่กลับวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง โดยเห็นว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและให้พิพากษายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทตามฟ้องและเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วน แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5882/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์คือฟ้องคดี: ค่าขึ้นศาลต้องเสียตามราคาทรัพย์, คำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์ฎีกา
คำร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ถือเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3)เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวก็เท่ากับ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลทำให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม อย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ ของผู้ร้องนั้น จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา เมื่อผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์และโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนี้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มในส่วนที่ยังขาดหรือสั่งคืนในส่วนที่เสียเกินได้โดยไม่ต้องให้คู่ความขอ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาของผู้ร้องและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นั้น จึงไม่ถูกต้องจำเป็นต้องยกเลิกเพิกถอนแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เสียใหม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
of 79