พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790-3792/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลสูงมีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน
แม้คำสั่งที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจะเป็นคำสั่งที่ชอบ แต่เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้มิได้หมายความว่าห้ามศาลสูงมิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ได้ ซึ่งอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 เมื่อคดีนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมทั้งมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะสืบพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของทายาท จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทจาก ส.มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไป ที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส.ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้ว การโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมใช้เงิน520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส.และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนนิติกรรม และความรับผิดของทายาท
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,001 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทจาก ส. มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไปที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส. ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้วการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส. และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส. จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่มีคำส่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกันและเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของล.ผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับมรดกผู้ตายตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6ผู้คัดค้านที่ 3 คัดค้านว่าผู้ร้องทั้งสองปลอมพินัยกรรมฉบับดังกล่าว จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดก และผู้ตายเคยทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไว้ก่อนแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมทั้งสองฉบับ ทั้งปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสองถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ไม่ว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับพินัยกรรมจะเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 3ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกและเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ และเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 3 อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านตามนัยดังกล่าวข้างต้นก็ชอบที่จะยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 3 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นพินัยกรรมปลอม และพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยเห็นว่าพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับพินัยกรรมยังคงมีผลใช้ได้ และผู้ร้องที่ 2 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวนั้นเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยตามประเด็นในคำคัดค้านทั้งที่ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิยื่นคัดค้าน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน และไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้ร้องที่ 2 เมื่อมิได้มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการ-มรดก จึงสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ได้ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาททางจราจร: การเลี้ยวขวาที่สี่แยกต้องรอสัญญาณไฟลูกศรหรือไฟแดงก่อนจึงปลอดภัย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ข้อ 2(จ) ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ในทางเดินรถโดยทั่วไปที่ทางเดินรถนั้นไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรปรากฏอยู่ข้างหน้า เมื่อตรงสี่แยกที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกเกิดเหตุอันเป็นการขัดต่อพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในสำนวนและนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับกับบทบัญญัติมาตรา 51 ข้อ 2(จ) อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่มิชอบและเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบมาตรา 247
สี่แยกที่เกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ เมื่อไม่มีสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวาในขณะเกิดเหตุจำเลยจึงไม่อาจเลี้ยวขวาได้ทันที โดยจำเลยจะต้องรอให้สัญญาณไฟจราจรทางตรงเป็นไฟแดงเสียก่อนแล้วเลี้ยวไปจึงจะปลอดภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22(4) การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถยนต์ที่ จ. ขับในระยะกระชั้นชิดขณะที่ จ. ขับสวนทางมาในทางตรงตามสัญญาณไฟจราจรสีเขียวและชนกับรถยนต์ที่ จ. ขับ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาท
สี่แยกที่เกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ เมื่อไม่มีสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวาในขณะเกิดเหตุจำเลยจึงไม่อาจเลี้ยวขวาได้ทันที โดยจำเลยจะต้องรอให้สัญญาณไฟจราจรทางตรงเป็นไฟแดงเสียก่อนแล้วเลี้ยวไปจึงจะปลอดภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22(4) การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถยนต์ที่ จ. ขับในระยะกระชั้นชิดขณะที่ จ. ขับสวนทางมาในทางตรงตามสัญญาณไฟจราจรสีเขียวและชนกับรถยนต์ที่ จ. ขับ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684-2689/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดไม่ครบถ้วน ศาลสูงมีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์รวมถึงการที่จำเลยแต่ละคนทำละเมิดเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใดและจะต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดีไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วแม้มิได้ระบุว่าบุกรุกอย่างไรและมีความกว้างยาวเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนี้แม้คำสั่งศาลชั้นต้นจะเป็นคำสั่งที่ชอบแต่ก็เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้เท่านั้นมิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องชัดเจน-ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวนสืบพยาน แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์รวมถึงการที่จำเลยแต่ละคนทำละเมิดเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด และจะต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี ไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง แล้ว แม้มิได้ระบุว่าบุกรุกอย่างไรและมีความกว้างยาวเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย และโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนี้ แม้คำสั่งศาลชั้นต้นจะเป็นคำสั่งที่ชอบ แต่ก็เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่า โจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วย ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย และโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนี้ แม้คำสั่งศาลชั้นต้นจะเป็นคำสั่งที่ชอบ แต่ก็เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่า โจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วย ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลัก หากจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่นำสืบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้ เกิดจากการ กระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความ ในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่ง ต้องถือตามหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้เกิดจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่งต้องถือตามหาได้ไม่