พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10881/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้หลังอายุความขาดแล้ว ไม่ทำให้หนี้เดิมฟื้นคืน แต่เป็นหลักฐานก่อสิทธิเรียกร้องใหม่ อายุความ 2 ปี
จำเลยทำหนังสือให้แก่โจทก์เพื่อรับรองว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าจ้างก่อสร้างค้างชำระแก่โจทก์อยู่ โดยทำหนังสือขึ้นหลังจากมูลหนี้ค่าจ้างก่อสร้างขาดอายุความไปแล้ว จึงไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) แต่มีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพความรับผิดที่จำเลยกระทำเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ อันก่อสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนนั้นได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
จำเลยได้ยกเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนนั้นได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
จำเลยได้ยกเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญ และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายต่อไป แต่จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจำนอง โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนองและไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนอง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจำนองกระทำโดยชอบและสุจริต ไม่มีเหตุเพิกถอนตามคำคู่ความดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการทำสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความขอบเขตการคืนค่าธรรมเนียมศาล และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่คืนค่าธรรมเนียม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดยตกลงว่าให้ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนเป็นพับ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมโดยพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ ตามความหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความหมายความว่าให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งไม่คืนให้ มิใช่หมายความว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องคืนให้แก่โจทก์เลย อันเป็นการทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไร้ผล และขัดแย้งต่อเจตนาของคู่ความที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาขอค่าฤชาธรรมเนียมคืน แต่ศาลไม่สั่งคืนให้ เช่นนี้ เป็นการที่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาตั้งแต่ต้นเป็นโมฆะ
โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การได้ เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสำคัญเรื่องการลาออกหรือเลิกจ้างก่อนพิพากษาคดีแรงงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีโดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ทั้งการที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออกหรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุ ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย ผู้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ชำระราคารถยนต์ตามสัญญา แม้จะระงับไปแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ดังนั้น ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์นั้นให้แก่โจทก์แม้สัญญาเช่าซื้อจะระงับเพราะวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย ความรับผิดของจำเลยที่ 1ก็ยังมีอยู่ตามสัญญา
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และการพิจารณาฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจกระทำได้เมื่อปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเสียให้เสร็จสิ้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086-5096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดความรับผิดของบริษัทจัดหางานต่อค่าจ้างค้างจ่ายของนายจ้างต่างประเทศ: ตัวแทน vs. ผู้ให้บริการ
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศและได้รับจัดหางานให้โจทก์กับพวกไปทำงานในต่างประเทศกับบริษัท ค. โจทก์กับพวกได้เดินทางไปทำงานกับบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทดังกล่าวค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์กับพวก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ค. ได้แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ และสัญญาจ้างแรงงานที่บริษัท ค. ทำกับโจทก์กับพวกนั้น จำเลยได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแทนบริษัท ค. หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาจึงยังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทอันเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างที่บริษัท ค. ค้างจ่ายแก่โจทก์กับพวกหรือไม่ เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นเรื่องจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ค. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามฟ้อง จึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมให้สิ้นกระแสความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันร่วม
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเช่าให้โจทก์ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้เดียวเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้ แม้ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย