พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณและการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และจดทะเบียนโอนสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์เพราะเหตุที่จำเลยทำการโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยโดยไม่มีอำนาจกับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ตามเดิม เพราะเหตุที่จำเลยประพฤติเนรคุณ แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลง เพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลงดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย อันเป็นการมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้พิพากษาใหม่ตามมาตรา 243(1)อำนาจนี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลงดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย อันเป็นการมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้พิพากษาใหม่ตามมาตรา 243(1)อำนาจนี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: ศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่ามีภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ แม้จำเลยไม่ตกลง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องในตอนแรกแล้วว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นเวลากว่า 20 ปี และโจทก์ได้บรรยายในตอนต่อมาว่าจำเลยได้ตกลงจดทะเบียนภารจำยอมให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแต่ปรากฏว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนภารจำยอมตามที่ตกลงกัน จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยไปทำนิติกรรมจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 2219 ของจำเลย ซึ่งจำเลยได้ให้การว่าทางพิพาทมิใช่ภารจำยอมและจำเลยไม่เคยตกลงกับโจทก์เพื่อจดทะเบียนภารจำยอม ประเด็นแห่งคดีจึงมีทั้งข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่และโจทก์จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นภารจำยอมได้หรือไม่ เพราะหากทางพิพาทเป็นภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมได้แม้จำเลยมิได้ตกลงด้วยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานขับรถที่ดื่มสุราก่อนทำงาน ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยและมีคำสั่งว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง ป. เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ให้โจทก์รับ ป. กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานตั้งเป็นประเด็นว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือไม่แต่กลับวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 หรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปรับบทกฎหมายไม่ตรงกับคำฟ้องและประเด็นแห่งคดีที่กำหนดไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นอายุความแม้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย หากมีการสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแสความ
ศาลชั้นต้นตั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ การที่โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะมิได้ตั้งประเด็นเกี่ยวกับมูลหนี้เดิมไว้ด้วย และเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นเรื่องอายุความที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้พิจารณาและพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ การนำเสนอข้อเท็จจริงต้องชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งข้อเท็จจริงโดยมิชอบมีผลต่อการอุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมายเพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมายเพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และอำนาจศาลอุทธรณ์ภาคในการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์สั่งคดีมีทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลย จำเลย ให้การว่า มารดาของจำเลยได้ครอบครองสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาถึง 36 ปีที่พิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งต่อไปศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วให้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้เห็นสมควรยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกฎีกา ของจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งต่อไปศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วให้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้เห็นสมควรยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกฎีกา ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งคดีผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย