คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะระหว่างการพิจารณาคดี ศาลต้องมีคำสั่งก่อนพิพากษา
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องถือว่า โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 และ 44 ก่อนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน หากได้รับสำเนาคำพิพากษาหลังกำหนด ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาการที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-ได้รับสำเนาคำพิพากษาล่าช้า ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาให้เพื่อความเป็นธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีและการใช้บทบัญญัติมาตรา 245(1) คพพ. เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ใช้เฉพาะกรณีที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์เท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142, 243,245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ ป.วิ.พ.มาตรา 245(1) เฉพาะคู่ความที่ไม่ได้อุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเกินขอบเขต
ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ใช้เฉพาะกรณีที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์เท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา142, 243, 245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องมีคำสั่งรับฟ้องก่อน มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อนจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องทำหลังศาลรับฟ้องคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1)ประกอบด้วย มาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรับทนายความโดยไม่ตรวจสอบความจริงก่อน เป็นการไม่ชอบ ศาลต้องแสวงหาความจริงก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป. เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป. เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป. ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายความจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป. เป็นทนายความจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป. ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป. ทนายความจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าว อันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป. ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป. จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป. หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการแต่งทนายความและการรับรองลายมือชื่อ: ศาลต้องตรวจสอบความแน่ชัดก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป.เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป.ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป.เป็นทนายจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป.ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป.ทนายจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวอันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป.ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป.จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป.หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องยาวนาน และการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของมารดาโจทก์ โดยจำเลยซื้อมาจากผู้อื่น ผู้ขายได้ชี้แนวเขตที่ดินตามแนวเขตเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำเลยครอบครองที่ดินตลอดมา ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทมาแต่ต้น มิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลจึงจะยกปัญหาในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยเองตามที่จำเลยฎีกาหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
of 79