พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14928/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาพยาบาลเงินทดแทน: ต้องพักรักษาในหอผู้ป่วยหนัก/วิกฤต หรือใช้เครื่องช่วยหายใจครบ 20 วัน จึงจะได้รับค่าชดเชยเพิ่ม
กรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) ที่ระบุว่าการประสบอันตรายไม่ว่าเป็นกรณีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไปนั้น ต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไปประกอบด้วย
ร. ลูกจ้างโจทก์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 วัน และพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูซึ่งอาจแปลได้ว่าพักรักษาตัวอยู่ในหอพักผู้ป่วยหนัก 15 วัน แม้หลังจากนั้น ร. พักรักษาตัวอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมจนถึงวันออกจากโรงพยาบาลรวมเป็นเวลาที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่สาธารณรัฐเกาหลี 27 วัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้องผู้ป่วยรวมที่สาธารณรัฐเกาหลีมีลักษณะเป็นหอผู้ป่วยหนักหรือหอผู้ป่วยวิกฤตหรือไม่ การประสบอันตรายของ ร. จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากจำเลยเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง
ร. ลูกจ้างโจทก์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 วัน และพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูซึ่งอาจแปลได้ว่าพักรักษาตัวอยู่ในหอพักผู้ป่วยหนัก 15 วัน แม้หลังจากนั้น ร. พักรักษาตัวอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมจนถึงวันออกจากโรงพยาบาลรวมเป็นเวลาที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่สาธารณรัฐเกาหลี 27 วัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้องผู้ป่วยรวมที่สาธารณรัฐเกาหลีมีลักษณะเป็นหอผู้ป่วยหนักหรือหอผู้ป่วยวิกฤตหรือไม่ การประสบอันตรายของ ร. จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากจำเลยเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บกระดูกหักหลายแห่ง เงินทดแทนต้องจ่ายตามจริง แม้กฎหมายไม่ได้นิยามชัดเจน คุ้มครองลูกจ้างตามหลัก
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง การตีความข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาหรือมีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางหรือนัยให้ความคุ้มครองหรือให้ประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน และความรับผิดของนายจ้าง/บริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้านของโจทก์ มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่าง และอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามขอบข่ายหน้าที่ ลักษณะงานของ ท. ต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่นและต้องทำงานนอกสถานที่ โจทก์กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายให้ แสดงว่า ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ ขณะกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง ท. ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะงานที่ก่อให้เกิดความเครียดและการตายจากโรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ลักษณะงานของผู้ตายซึ่งเป็นหัวหน้างานทั่วไปมีหน้าที่ดูแลการก่อสร้างทั้งให้คำปรึกษาแก่คนงานเมื่อมีเหตุขัดข้องในการทำงานย่อมก่อให้เกิดความเครียดได้อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง การที่ผู้ตายกำลังนั่งทำงานเกี่ยวกับแบบก่อสร้างอยู่แล้ว บ. มาตามไปดูการติดตั้งประตูม้วนที่มีปัญหาต้องเดินทางไกลประมาณ200เมตรท่ามกลางแดดร้อนจัดย่อมก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นในทันทีทันใดได้อันเป็นเหตุให้มีความดันโลหิตสูงมากขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้เส้นโลหิตที่ก้านสมองแตกและผู้ตายถึงแก่ความตายถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากจำเลย