พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันผลหนังสือหย่าที่ทำไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนหย่าตามข้อตกลง
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าโดยอาศัยหนังสือหย่าที่ทำขึ้นโดยความยินยอม และการบังคับใช้คำพิพากษาให้จดทะเบียนหย่า
โจทก์คนสัญชาติไทย จำเลยคนสัญชาติอินเดีย จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. การสมรส ค.ศ. 1949ของประเทศอังกฤษ แม้มิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียน อำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียนณ ที่ทำการสถานทูต หรือกงสุลไทยก็ตาม เมื่อได้ทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ทั้งตามกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์และจำเลยต่างก็ยินยอมให้คู่สมรสหย่ากันโดยความยินยอมได้ ศาลไทยจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา การหย่าโดยทำหนังสือหย่ากันเองมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนหย่าแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเพื่อให้การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์ แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันการหย่าโดยความยินยอม แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า และอำนาจศาลในการสั่งให้หย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนัก-นายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูตหรือกงสุลไทยก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด
แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศหากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้
แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศหากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการทำสัญญาหย่าและยกทรัพย์สินให้บุตรมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการอ้างเหตุอื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริต และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต แม้เป็นสินสมรสคู่สมรสมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไรที่ไหนและเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียว กับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าเป็นโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญา แต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนหย่าที่ไม่สมบูรณ์และมีเจตนาหลอกลวง ทำให้การหย่าไม่มีผลผูกพัน โจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภรรยา
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่ร่วมเรือนเดียวกันและร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันอีก 1 หลัง ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนาขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกต้นผลอาสินเยี่ยงสามีภรรยา ต่างฝ่ายไม่มีคู่ครองใหม่พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าการจดทะเบียนหย่าก็โดยเจตนาไม่ประสงค์จะให้มีผลผูกพันกัน จึงใช้บังคับกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรือนพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาหย่า: การอยู่กินฉันสามีภริยาหลังทำสัญญาหย่าแล้วถือเป็นการเลิกสัญญาเดิมได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียน
สามีภริยาทำหนังสือหย่ากัน แต่ตกลงเลิกสัญญาแล้วทำสัญญาแล้ว 9 ปี สามีนำสัญญามาฟ้องให้ภริยาจดทะเบียนหย่าไม่ได้ ไม่ต้องวินิจฉัยว่าสัญญาหย่าสมบูรณ์หรือไม่