คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1620

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1711 และ 1713ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิของผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 และ 1713 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์มรดก: ผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
ข้อความตามพินัยกรรม เอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า ตั้งนางจรรยา ส.ตันสกุล ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และระบุให้อำนาจผู้จัดการมรดกจัดแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วน แก่ผู้อยู่ในสกุลส.ตันสกุล ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควร โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม และจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์มรดกได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับยักยอกทรัพย์มรดก ขึ้นอยู่กับความเป็นผู้เสียหายตามพินัยกรรมและสถานะผู้จัดการมรดก
ข้อความตามพินัยกรรม เอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า ตั้งนางจรรยา ส.ตันสกุล ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและระบุให้อำนาจผู้จัดการมรดกจัดแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลืออีก1 ส่วน แก่ผู้อยู่ในสกุล ส.ตันสกุล ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควร โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมและจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์มรดกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องหนี้สินนอกพินัยกรรม และความชอบธรรมของสัญญากู้ซื้อโบราณวัตถุ
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการฟ้องสิทธิเรียกร้องนอกพินัยกรรม และการซื้อขายโบราณวัตถุ
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1620 ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทที่สร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของทายาทสินเดิม vs. พินัยกรรมที่ไม่มีอำนาจ
คำฟ้องได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โจทก์บรรยายตามลำดับเหตุการณ์ มิได้ขัดแย้งกันดังที่จำเลยฎีกา ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องเรียกเอาเรือนพิพาทที่เป็นทรัพย์ส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งบิดาจำเลยทำพินัยกรรมยกให้จำเลยโดยไม่มีสิทธิและโจทก์ก็ได้อาศัยอยู่ในเรือนพิพาทตลอดมา จะนำเอาอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของช. เมื่อ ช. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ ช. ทุกคนรวมทั้งโจทก์และจำเลยด้วย บิดาจำเลยซึ่งเป็นสามี ช. ย่อมไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทตกทายาทโดยธรรม สินเดิมของมารดา แม้บิดามีพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นก็ไม่สมบูรณ์
คำฟ้องได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โจทก์บรรยายตามลำดับเหตุการณ์มิได้ขัดแย้งกันดังที่จำเลยฎีกา ไม่เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องเรียกเอาเรือนพิพาทที่เป็นทรัพย์ส่วนของโจทก์จาก จำเลยซึ่งบิดาจำเลยทำพินัยกรรมยกให้จำเลยโดยไม่มีสิทธิและโจทก์ก็ได้อาศัยอยู่ในเรือนพิพาทตลอดมา จะนำเอา อายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้ เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของช. เมื่อ ช. ตายโดยมิได้ ทำพินัยกรรมไว้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ ช. ทุกคนรวมทั้งโจทก์และจำเลยด้วยบิดาจำเลยซึ่งเป็นสามี ช. ย่อมไม่มีอำนาจทำพินัยกรรม ยกเรือนพิพาทให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดก: การพิสูจน์สิทธิในฐานะทายาทและขอบเขตการรับมรดก
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งแปลงโดยบิดามารดาแบ่งให้ จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวโจทก์บุกรุกแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยบิดายกให้ทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์จำเลยและยังมิได้ยกให้โจทก์หรือจำเลยตามฟ้องและคำให้การ เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทส่วนของบิดาจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทต่อมาเมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทส่วนของมารดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทอีก โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมด้วยผู้หนึ่ง ย่อมได้รับมรดกของบิดามารดาด้วย แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ผู้เดียว มิได้ตั้งรูปคดีว่าที่พิพาทเป็นมรดกประกอบกับที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกของบิดามารดามีเพียงใดไม่มีประเด็นให้รับฟังเป็นยุติได้จึงไม่อาจชี้ขาดถึงส่วนได้ของโจทก์ ในชั้นนี้สมควรพิพากษาแต่เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกในฐานะทายาทผู้รับมรดกเท่านั้นข้อที่ว่าโจทก์มีส่วนอยู่เพียงใด ชอบที่จะว่ากล่าวกันในทางมรดกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดก: สิทธิของทายาทและการพิสูจน์การได้รับมรดก
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งแปลงโดยบิดามารดาแบ่งให้ จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวโจทก์บุกรุกแย่งการครอบครองที่พิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยบิดายกให้ ทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์จำเลยและยังมิได้ยกให้โจทก์หรือจำเลยตามฟ้องและคำให้การ เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทส่วนของบิดาจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ต่อมาเมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทส่วนของมารดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทอีกโจทก์เป็นทายาทโดยธรรมด้วยผู้หนึ่ง ย่อมได้รับมรดกของบิดามารดาด้วยแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ผู้เดียวมิได้ตั้งรูปคดีว่าที่พิพาทเป็นมรดกประกอบกับที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกของบิดามารดามีเพียงใดไม่มีประเด็นให้รับฟังเป็นยุติได้จึงไม่อาจชี้ขาดถึงส่วนได้ของโจทก์ ในชั้นนี้สมควรพิพากษาแต่เพียงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกในฐานะทายาทผู้รับมรดกเท่านั้น ข้อที่ว่าโจทก์มีส่วนอยู่เพียงใด ชอบที่จะว่ากล่าวกันในทางมรดกต่อไป
of 5