พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาหลังมรณะและการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ เป็นของโจทก์กับสามีสามีโจทก์ตายไป 7 ปีแล้ว แต่ก่อนตายสามีโจทก์ได้เรียกบุตรทุกคนมาสั่งต่อหน้าว่าที่พิพาทนี้ถ้าสามีโจทก์ตายให้เป็นของโจทก์หรือถ้าโจทก์ตายก่อนก็ให้เป็นของสามีโจทก์ เมื่อสามีโจทก์ตายแล้วโจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทเพื่อตนเองตามที่สามีโจทก์สั่งไว้จำเลยผู้เป็นบุตรคนหนึ่งมิได้ครอบครองที่พิพาท เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนมาตั้งแต่สามีตายเกิน 1 ปีแล้วและที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า ทายาทอื่นจึงเรียกเอาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 สิทธิที่จะรับมรดกของจำเลยจึงเป็นอันหมดไปจะอ้างว่ายังเป็นมรดกของบิดาอยู่อีกไม่ได้ ที่พิพาทย่อมเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์ของภริยา, การอนุญาตจากสามี, และการพิสูจน์หลักฐานหนี้สิน
การที่หญิงมีสามีฟ้องเรียกหนี้และส่วนมรดกของบุตรสาวที่ตายจากบุตรเขยนั้นเกี่ยวกับการเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 จะต้องได้รับอนุญาตจากสามีเมื่อสามีร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมขอรับชำระหนี้และส่วนมรดกด้วยนั้นพอถือว่าเป็นหลักฐานที่สามีอนุญาต
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำแทนตัวโจทก์
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำแทนตัวโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหนี้สินบริคณห์ของภรรยา การอนุญาตจากสามี และการพิสูจน์หนี้เงินฝาก/ค่าเซ้ง
การที่หญิงมีสามีฟ้องเรียกหนี้และส่วนมรดกของบุตรสาวที่ตายจากบุตรเขยนั้น เกี่ยวกับการเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1469 จะต้องได้รับอนุญาตจากสามีเมื่อสามีร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมขอรับชำระหนี้และส่วนมรดกด้วยนั้น พอถือว่าเป็๋นหลักฐานที่สามีอนุญาต
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำการแทนโจทก์
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำการแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้มรดก: ที่ดินประกันหนี้ต้องจัดการหนี้ก่อนแบ่งมรดก
ที่ดินมรดก ซึ่งเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้สหกรณ์ได้โอนใส่ชื่อสหกรณ์เป็นเจ้าของเพื่อประกันหนี้นั้น ต้องจัดการชำระหนี้เสียก่อน เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว จึงแบ่งปันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการหนี้สินมรดก: ที่ดินประกันหนี้ต้องชำระหนี้ก่อนแบ่งมรดก
ที่ดินมฤดกซึ่งเจ้ามฤดกเป็นลูกหนี้สหกรณ์ได้โอนใส่ชื่อสหกรณ์เป็นเจ้าของเพื่อประกันหนี้นั้นต้องจัดการชำระหนี้ เสียก่อน เมื่อได้ที่ดินมาแล้วจึงแบ่งปันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้ทำพินัยกรรมและความถูกต้องของเลขที่ดิน
ข้อความในพินัยกรรม์ ซึ่งแปลได้ว่า ได้ระบุนามผู้รับมฤดกแล้ว
ในพินัยกรรม์ได้ระบุที่ดินโฉนดที่ 118 เป็นทรัพย์มฤดกแต่ที่ดินรายพิพาทปรากฎว่าเป็นโฉนดที่ 1133 จำเลยจะขอสืบพะยานว่าเลขในโฉนดใบพินัยกรรม์เขียนผิด ผู้ตายมีที่นาฉะเพาะแปลงพิพาทแปลงเดียว ดังนี้จำเลยย่อมนำสืบได้ เพราะเป็นการสืบตีความในเอกสารพินัยกรรม์ว่าผู้ตายมีเจตนากล่าวถึงที่ดินแปลงไหน
ในพินัยกรรม์ได้ระบุที่ดินโฉนดที่ 118 เป็นทรัพย์มฤดกแต่ที่ดินรายพิพาทปรากฎว่าเป็นโฉนดที่ 1133 จำเลยจะขอสืบพะยานว่าเลขในโฉนดใบพินัยกรรม์เขียนผิด ผู้ตายมีที่นาฉะเพาะแปลงพิพาทแปลงเดียว ดังนี้จำเลยย่อมนำสืบได้ เพราะเป็นการสืบตีความในเอกสารพินัยกรรม์ว่าผู้ตายมีเจตนากล่าวถึงที่ดินแปลงไหน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรม
ข้อความในพินัยกรรมซึ่งแปลได้ว่า ได้ระบุนามผู้รับมรดกแล้ว
ในพินัยกรรมได้ระบุที่ดินโฉนดที่ 118 เป็นทรัพย์มรดกแต่ที่ดินรายพิพาทปรากฏว่าเป็นโฉนดที่ 1133 จำเลยจะขอสืบพยานว่าเลขในโฉนดใบพินัยกรรมเขียนผิด ผู้ตายมีที่นาเฉพาะแปลงพิพาทแปลงเดียว ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้เพราะเป็นการสืบตีความในเอกสารพินัยกรรมว่าผู้ตายมีเจตนากล่าวถึงที่ดินแปลงไหน
ในพินัยกรรมได้ระบุที่ดินโฉนดที่ 118 เป็นทรัพย์มรดกแต่ที่ดินรายพิพาทปรากฏว่าเป็นโฉนดที่ 1133 จำเลยจะขอสืบพยานว่าเลขในโฉนดใบพินัยกรรมเขียนผิด ผู้ตายมีที่นาเฉพาะแปลงพิพาทแปลงเดียว ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้เพราะเป็นการสืบตีความในเอกสารพินัยกรรมว่าผู้ตายมีเจตนากล่าวถึงที่ดินแปลงไหน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมในคดีผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นหลักฐานการแบ่งมรดก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยต่อสู้ว่า ได้มีการตกลงแบ่งมรดกกันแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งได้ความว่า โจทก์เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จำเลยคัดค้านแล้วโจทก์ได้มีหนังสือถึงทนาย ขอให้ถอนคำร้องนั้นเสีย หนังสือที่โจทก์ทำให้ทนายความไว้มีความว่า ตามที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินคดีเป็นผู้จัดการมรดกนายจี๋ นางแดงบัดนี้ได้ตกลงประนีประนอมกันแล้ว จึงไม่ติดใจจะดำเนินคดีต่อไป ขอให้ไปแถลงต่อศาลขอเลิกคดีดังนี้ ย่อมหมายความว่า ประนีประนอมกับอีกฝ่ายหนึ่งในทางคดี ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีข้อความใดแสดงว่า ได้ประนีประนอมแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานของการแบ่งมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรานีประนอมในคดี ไม่ถือเป็นหลักฐานการแบ่งมฤดก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดกจำเลยต่อสู้ว่า ได้มีการตกลงแบ่งมฤดกกันแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งได้ความว่า โจทก์เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมฤดกรายนี้ จำเลยคัดค้านแล้วโจทก์ได้มีหนังสือถึงทนาย ขอให้ถอนคำร้องนั้นเสีย หนังสือที่โจทก์ทำให้ทนายความไว้มีความว่า ตามที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินคดีเป็นผู้จัดการมฤดกนายจี๋, นางแดง บัดนี้ได้ตกลงปราณีประนอมกันแล้ว จึงไม่ติดใจจะดำเนินคดีต่อไป ขอให้ไปแถลงต่อศาลขอเลิกคดี ดังนี้ย่อมหมายความว่า ปราณีประนอมกับอีกฝ่ายหนึ่งในทางคดี ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีข้อความใดแสดงว่า ได้ปราณีประนอมแบ่งมฤดกแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานของการแบ่งมฤดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเสียชีวิตของผู้รับพินัยกรรมก่อนเจ้ามรดกและการบังคับใช้มาตรา 1699 และ 1620 วรรคสอง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีความว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายแล้วขอยกทรัพย์สมบัติให้แก่ ร. และส. โดยให้คนละครึ่งเท่าๆ กันผู้อื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์ของตนไม่ได้ ปรากฏว่า ร. ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกให้ ร. จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบกับมาตรา 1620 วรรคสอง คือเมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม ก็ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม