พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินเป็นภารจำยอม, การใช้ภารจำยอมเกินขอบเขต, สิทธิเจ้าของภารยทรัพย์, การรื้อถอนกำแพง
การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อย ปลูกสร้างตึกแถวออกจำหน่ายถึง 60 แปลง และจัดให้มีการทำถนนออกสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนอโศก-ดินแดง โดยจัดสร้างขึ้นพร้อม ๆกับการสร้างตึกแถวขายเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อตึกแถวเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปซึ่งนาง ศ. กับพวกได้ซื้อตึกแถว 1 ห้อง และได้ขายให้โจทก์ภายหลังการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจำเลยได้จัดให้มีสาธารณูปโภค อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 การที่จำเลยจะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้น ถนนคอนกรีตหน้าตึกแถวของโจทก์ซึ่งเป็นของจำเลยจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของโจทก์ จำเลยหามีสิทธิปิดกั้นไม่ การที่โจทก์รื้อกำแพงของจำเลยด้านหลังตึกแถวโจทก์ออกและยอมให้บริษัท ง. จำกัด ใช้ถนนที่เป็นภารจำยอมโดยให้รถยนต์แล่นทะลุผ่านตึกแถวชั้นล่างของโจทก์เข้าออกถนนสาธารณะ ทำให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับภาระมากเกินควรกว่าปกติต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 แต่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะให้จำเลยปิดกั้นถนนภารจำยอมดังกล่าวได้ จำเลยคงมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นใช้หรือเรียกค่าเสียหายหากเกิดมีขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้โจทก์ก่อสร้างกำแพงของจำเลยตามเดิม เพื่อมิให้บุคคลอื่นใช้ถนนพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ & การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์: การวางเสาไฟฟ้าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ การที่โจทก์ไปขอใช้เงินแก่เจ้าของที่ดินจำเลยคนก่อนแต่เขาไม่ยอมก็ดีหรือโจทก์ขอให้ผลมะพร้าวให้จำเลยแล้วผิดข้อตกลงกันก็ดี เมื่อเป็นเรื่องโจทก์เสนอให้ค่าตอบแทนเพื่อโจทก์จะทำถนนได้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงไม่ทำให้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมอยู่แล้วกลายเป็นไม่เป็นภารจำยอมหรือภารจำยอมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด แม้ทางพิพาทจะตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่การปักเสาไฟฟ้าการวางสายไฟฟ้าในที่ดินจำเลยที่เป็นภารจำยอมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภารเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนและไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยโจทก์จึงหามีสิทธิปักเสาพาดสายไฟฟ้าตามทางพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การจดทะเบียนตามแนวเส้นที่ใช้สัญจรได้จริงภายในขอบเขตที่ตกลงกัน
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์เดินออกสู่ถนนมีความกว้าง 2 เมตร ตามแนวเส้นสีแดงในแผนที่ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่ามีความกว้าง6 เมตร โดยไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภาระจำยอมที่แน่นอน ดังนี้ แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนจะต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้เดินได้โดยไม่มีการขัดขวาง เมื่อจำเลยเลือกจดทะเบียนภาระจำยอมบนแนวฟุตปาทบางส่วนและบนถนนบางส่วน โดยมีเสาไฟฟ้าและซุ้มต้นไม้บนฟุตปาท บางตอนโจทก์ใช้เดินไม่ได้ต้องลงไปเดินบนถนน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ย้ายไปจดทะเบียนภาระจำยอมบนถนนที่ใช้เดินได้โดยเริ่มจากขอบถนนออกไป 2 เมตร ซึ่งยังอยู่ภายในแนวเส้นสีแดงได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือเพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การกำหนดแนวทางจดทะเบียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์และไม่เพิ่มภาระ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์เดินออกสู่ถนนมีความกว้าง 2 เมตร ตามแนวเส้นสีแดงในแผนที่ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่ามีความกว้าง 6 เมตร โดยไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภารจำยอมที่แน่นอน ดังนี้ แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนจะต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้เดินได้โดยไม่มีการขัดขวาง เมื่อจำเลยเลือกจดทะเบียนภารจำยอมบนแนวฟุตบาทบางส่วนและบนถนนบางส่วนโดยมีเสาไฟฟ้าและซุ้ม ต้นไม้บนฟุตบาท บางตอนโจทก์ใช้เดินไม่ได้ต้องลงไปเดินบนถนน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ย้ายไปจดทะเบียนภารจำยอมบนถนนที่ใช้เดินได้โดยเริ่มจากขอบถนนออกไป 2 เมตรซึ่งยังอยู่ภายในแนวเส้นสีแดงได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเพิ่มภาระ แก่ภารยทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การจดทะเบียนแนวทางบนถนนที่ไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์สัญญาประนีประนอมยอมความ มิถือเป็นการเปลี่ยนแปลงภาระ
ตามคำฟ้องและความที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นการจดทะเบียนภารจำยอมก็เพื่อประโยชน์ที่โจทก์จะใช้ทางภารจำยอมนั้น เดิน ออกสู่ซอย และถนน แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนตามที่ตกลงกันจึงต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้ภารยทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของสามยทรัพย์ แนวที่จะถือว่าจะเป็นประโยชน์ได้ก็ต้องอยู่ในแนวที่ไม่มีการขัดขวางการใช้ทางเดิน ดังนั้น การกำหนดให้เริ่มแนวจากขอบถนนกว้างออกไปอีก 2 เมตร โดยที่ยังอยู่ในแนวเส้นสีแดง ในแผนที่สังเขปจึงมิใช่การกำหนดให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ เพราะแนวที่กำหนดให้จดทะเบียนนั้นอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ในภารยทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การเปลี่ยนแปลงภาระเพิ่มขึ้นโดยมิชอบ เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิ
จำเลยได้ทรัพยสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ต่อมาจำเลยนำเสาไฟฟ้าจำนวน 3 ต้น ปักลงในทางภาระจำยอมดังกล่าว ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิกระทำ ไม่ใช่การรักษาหรือใช้ภาระจำยอมในการเดินผ่านทางพิพาทตามปกติ
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนได้เองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนได้เองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: สิทธิการบำรุงรักษาทางภารจำยอม และขอบเขตการกระทำที่ไม่เกินภาระ
โจทก์จำเลยยอมรับกันว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์แต่ตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินและบ้านของจำเลยและมารดาจำเลยจำเลยทำทางระบายน้ำในถนนพิพาทเพื่อมิให้น้ำท่วมถนนและไม่ให้น้ำบนถนนไหลเข้าบ้านจำเลยคงต่อสู้กันเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิทำท่อระบายน้ำบนถนนพิพาทหรือไม่เช่นนี้คงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นเป็นการนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงต่อสู้กันไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ภาระจำยอมและการบำรุงรักษา: การกระทำเพื่อรักษาภาระจำยอมไม่ใช่ภาระเพิ่มขึ้น
โจทก์จำเลยยอมรับกันว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์แต่ตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินและบ้านของจำเลยและมารดาจำเลยจำเลยทำทางระบายน้ำในถนนพิพาทเพื่อมิให้น้ำท่วมถนนและไม่ให้น้ำบนถนนไหลเข้าบ้านจำเลยคงต่อสู้กันเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิทำท่อระบายน้ำบนถนนพิพาทหรือไม่เช่นนี้คงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นเป็นการนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงต่อสู้กันไว้