พบผลลัพธ์ทั้งหมด 327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: สิทธิของเจ้าของที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตร บนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น กรณีที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตรบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจ เลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอ ท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินค่าทดแทนเวนคืนสำหรับภาระจำยอม: การพิจารณาผู้รับประโยชน์และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางตามมาตรา 1349 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็นโดยเฉพาะ ไม่รวมถึงผู้ได้สิทธิในการใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยประการอื่น และเมื่อมาตรา 29 บัญญัติถึงทรัพยสิทธิอย่างอื่นเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนไว้แล้วซึ่งทางภาระจำยอมในคดีนี้เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาตรา 18 (6) มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้สิทธิในภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงอื่นโดยทางอื่นนอกจากบทบัญญัติมาตรา 18 (6) จึงต้องบังคับตามมาตรา 29
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-สิทธิผ่านทาง-ค่าทดแทน-ขอบเขตการใช้ทาง-ประโยชน์ที่ได้รับ
เดิมโจทก์เคยใช้ทางเดินตามแนวริมคลองขวางออกไปสู่ถนนสาธารณะ แต่เมื่อทางดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นทางแล้วโจทก์จึงเปลี่ยนมาใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นทางในโครงการของจำเลย จำเลยก็กลับก่อกำแพงปิดกั้นเสียอีกจึงต้องถือว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ซึ่งโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทไปสู่ทางสาธารณะได้ ถึงแม้ทางออกซึ่งเป็นทางเดิมนั้นจะไม่มีลักษณะดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสองกล่าวคือ ต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากก็ตาม ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและโจทก์มีสิทธิใช้ได้โดยชอบโจทก์จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเป็นเงินรายปี ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจึงต้องใช้โดยมีขอบเขตด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงผลเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกบังคับใช้ทางจำเป็นด้วย ปรากฏว่าเดิมโจทก์เคยใช้ทางเลียบริมคลองขวางมีความกว้างเพียง 1.50 เมตรการที่โจทก์มาขอใช้ทางจำเป็นมีความกว้างถึง 2.50 เมตรจึงเกินความจำเป็นไป สมควรกำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นมีความกว้าง 1.50 เมตร เท่าทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ที่ระบุว่า ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนนจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้นั้น หมายความว่าผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นอาจชำระค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายเพราะสร้างถนนครั้งเดียวหรืออาจชำระค่าทดแทนเป็นรายปีก็ได้ หาใช่ว่าเมื่อจำเลยได้รับประโยชน์อย่างอื่นแล้วโจทก์ผู้ใช้ทางจำเป็นก็ไม่ต้องชำระค่าทดแทนให้แก่จำเลยอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเฉพาะผู้เสียทางจำเป็น ไม่ใช่ภาระจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ซ.มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้น มิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ซ.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภาระจำยอมนั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้น มิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ซ.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภาระจำยอมนั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืน: กรณีทางภารจำยอม vs. ทางจำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ส. ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มอบอำนาจให้ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของช. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ช.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิ ในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่า จำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทาง ภารจำยอม นั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืนจำกัดเฉพาะผู้เสียสิทธิทางจำเป็น ไม่รวมผู้มีภารจำยอม
ที่ดินของ ซ. ถูกเวนคืน เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภารจำยอมนั้นแก่ ซ. หรือไม่ก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(6) เนื่องจาก มาตราดังกล่าวกำหนดบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน คือ เฉพาะบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืน ในฐานะที่เป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และบุคคลนั้นได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความรวม ถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 ถึงมาตรา 1401ดังกรณีของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีทางสิทธิ์เหนือที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีทางออกเป็นทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลยทั้งสองหรือไม่ หาได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องทางจำเป็นแต่อย่างใด และกรณีที่จะเป็นเรื่องทางจำเป็นนั้นในคำฟ้องต้องปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ศาลจึงจะพิจารณาพิพากษาในเรื่องทางจำเป็นให้ได้เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349ทั้งมิได้บรรยายหรือประสงค์ที่จะขอให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแต่กลับฟ้องคดีโดยประสงค์ตามคำขอท้ายฟ้องที่จะให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางสาธารณะ ดังนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยฟังว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นที่มิได้มีการอ้างในคำฟ้อง แม้จะเป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินพิพาทในที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เสารั้ว หรือวัสดุอื่นใดซึ่งสร้างปิดกั้นทางเดินพิพาทออกไป กับขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ2,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า ทางเดินพิพาทดังกล่าวไม่ใช่ทางสาธารณะจำเลยล้อมรั้วทำประโยชน์ในที่ดินของตน ไม่ได้ปิดกั้นทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางเดินพิพาทว่าเป็นทางสาธารณะหรือไม่เท่านั้น และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกเป็นทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลยหรือไม่ และไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องทางจำเป็นไว้ทั้งกรณีที่จะเป็นเรื่องทางจำเป็นนั้น ในคำฟ้องต้องปรากฏว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ทั้งมิได้บรรยายหรือประสงค์ที่จะขอให้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็น การที่ศาลล่างวินิจฉัยฟังว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการกำหนดค่าทดแทนการใช้ทาง
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ยกที่ดินให้บุตร คือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองย่อมจะโอนสิทธิครอบครองให้แก่กันได้โดยการมอบการครอบครอง การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5มอบการครอบครองบางส่วนของที่ดินให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบ และมีอำนาจฟ้องให้เปิดทางจำเป็นได้
ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินเละเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรงอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลยจะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้างผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาทในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม 300,000 บาทการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทนไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควรกำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว
ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินเละเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรงอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลยจะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้างผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาทในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม 300,000 บาทการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทนไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควรกำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว