คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นคำร้องถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย และต้องเกิดขึ้นหลังครบกำหนดเวลาที่ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งอ้างเหตุเพียงประการเดียวว่า ผู้ร้องไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในเวลาอันสมควร ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 บัญญัติว่า "ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีและแบ่งปันมรดกให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728" แสดงว่า ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการแบ่งปันมรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี หากไม่ดำเนินการในเวลาดังกล่าวอาจถูกศาลถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายในหนึ่งปี การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกก่อนที่จะครบกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องกระทำผิดหน้าที่ไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอันจะเป็นเหตุให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และจะถือว่าผู้ร้องไม่มีความสามารถตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 (2) อันจะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ผู้คัดค้านยื่นร้องขอ จึงยังไม่มีเหตุตามคำร้องขอ ที่จะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือจำต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาผู้ร้องยังไม่แบ่งทรัพย์มรดกก็เป็นเหตุการณ์ภายหลังอันจะถือว่าเป็นเหตุตามคำร้องขอหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่จริง ศาลไม่อาจตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์ที่ไม่มีอยู่
เมื่อเหตุที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ตัวผู้จัดการมรดกเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 (2) แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินนั้น ผู้ตายโอนให้บุคคลอื่นไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากธนาคาร ผู้มีอำนาจในการถอนได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตัวผู้จัดการมรดก จึงไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ และกฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตัวผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทกับมรดก: ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
ที่ดินตามคำร้องขอไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายเพื่อขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ ส่วนผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอเท่านั้นเมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกแต่ประการใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดก & การแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรรคแรก เมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดกดังนั้น เมื่อผู้ร้องจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีการแบ่งมรดกแล้วแต่ยังไม่จดทะเบียน
มารดาผู้ร้องและคัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้าน ได้ เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรกเมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้วจึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดก ดังนั้น เมื่อผู้ร้องขอจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไป จากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการ แบ่งแยกทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการ หรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้องทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการโอนทะเบียนทรัพย์มรดก
ผู้ตายมีทรัพย์มรดกรถจักรยานยนต์ 1 คันและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้การที่เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนยานพาหนะปฏิเสธไม่ยอมโอนทะเบียน รถจักรยานยนต์ดังกล่าวให้แก่ ม.ซึ่งเป็นภริยาและทายาทของผู้ตาย โดยอ้างว่า ม.มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นถือได้ว่า การจัดการ หรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ ม.จะยื่นคำร้องขอ หรือให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ม.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกมีอุปสรรคจากเจ้าหน้าที่: สิทธิในการขอตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ตายมีทรัพย์มรดกรถจักรยานยนต์1คันและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้การที่เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนยานพาหนะปฏิเสธไม่ยอมโอนทะเบียนรถจักรยานยนต์ดังกล่าวให้แก่ม.ซึ่งเป็นภริยาและทายาทของผู้ตายโดยอ้างว่าม.มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นถือได้ว่าการจัดการหรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ม.จะยื่นคำร้องขอหรือให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งม.เป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการโอนทะเบียนทรัพย์มรดก
ผู้ตายมีทรัพย์มรดกรถจักรยานยนต์ 1 คันและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้การที่เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนยานพาหนะปฏิเสธไม่ยอมโอนทะเบียนรถจักรยานยนต์ดังกล่าวให้แก่ ม.ซึ่งเป็นภริยาและทายาทของผู้ตายโดยอ้างว่า ม.มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ถือได้ว่า การจัดการหรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ ม.จะยื่นคำร้องขอหรือให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ม.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ทายาทไม่สูญหาย-ข้อพิพาทสิทธิทรัพย์มรดก ไม่เข้าเงื่อนไขขอตั้งผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องขอที่ผู้ร้องอ้างว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน แต่อพยพไปอยู่ต่างจังหวัดไม่ทราบที่อยู่แน่นอนนั้น ถือไม่ได้ว่า ทายาทโดยธรรมดังกล่าวของเจ้ามรดกสูญหายไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1) ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก ก็ไม่ได้กล่าวถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกมาด้วย เป็นกรณีที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์มรดกดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ชอบที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องต่างจากข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ในพินัยกรรม แม้มีข้อโต้แย้ง ศาลก็มีอำนาจสั่งได้
คดีก่อนเป็นเรื่องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในพินัยกรรม. แต่ในคดีนี้เป็นเรื่องขอให้ศาลจัดตั้งผู้จัดการมรดก. จึงไม่เป็นการร้องซ้ำ เพราะเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น. กรณีไม่เข้า มาตรา 144 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง. ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก แต่มีผู้คัดค้าน. เมื่อกรณีอยู่ในระหว่างที่ผู้ร้องกับผู้คัดค้านยังโต้เถียงกันอยู่ดังนี้. ศาลย่อมมีอำนาจสั่งตั้งผู้จัดการมรดกได้.
of 2