พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสินค้าทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หากมูลค่าสูงเกินเกณฑ์ต้องผ่านพิธีการศุลกากร
ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การขนส่งไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ การฝากส่งสิ่งของพัสดุไปรษณีย์กับจำเลย จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2549 โดยอนุวัติตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ประกอบ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการฝากส่งสิ่งของนั้น
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และการชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราที่กำหนด
เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไปรษณียภัณฑ์ สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง ของจำเลย มิได้เกิดจากการทุจริตของพนักงานจำเลย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะที่ไปรษณีย์นิเทศกำหนดไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งไปยังสถานที่รื้อถอนแล้ว และขาดหลักฐานความสัมพันธ์ของผู้รับ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การส่งหนังสือแจ้งประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตามมาตรา 30
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการลักทรัพย์ลูกจ้าง และการซื้อสลากถูกรางวัลโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่1ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไปขอให้จำเลยที่1ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไปก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องจึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ลูกจ้างของจำเลยที่1ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่1เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน160บาทตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ539นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่ จำเลยที่2มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผยกับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้องถึงแม้จำเลยที่2จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตามก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการจ้าง แม้จำเลยที่ 2 ซื้อสลากโดยเปิดเผย ก็ไม่ถือว่าทุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไป ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไป ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้อง จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผยกับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผยกับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการซื้อสลากที่ถูกรางวัลโดยไม่มีเจตนาทุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไป ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไป ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้อง จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณีย์นิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผย กับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณีย์นิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผย กับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คทางไปรษณีย์: การพิสูจน์ข้อห้ามส่งตามระเบียบอธิบดี
พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติว่าเช็คเป็นของมีค่าซึ่งห้ามส่งทางไปรษณีย์ จึงมิใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง แต่ต้องสืบพยานว่ามีระเบียบข้อบังคับที่อธิบดีวางไว้ตาม มาตรา 21(1)(2)