พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13421/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ศาลแรงงานภาค 2 จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุเลิกจ้างรวมถึงเหตุที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในหน้าที่อย่างร้ายแรงด้วยซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้บังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และคำให้การของจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นหัวหน้าชุดขนเงินแต่ไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของถุงใส่เงิน ปล่อยให้บุคคลภายนอกโดยสารมาด้วยและมีพฤติการณ์ส่อว่าร่วมมือกับลูกจ้างอื่นเอาเงินสดในถุงใส่เงินของจำเลยไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (3) โดยไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้องแก่โจทก์ดังนี้เมื่อพิจารณาตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดียังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) หรือไม่ การที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานภาค 2 ฟังมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ จึงวินิจฉัยประเด็นนี้ให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยอีก เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำหน้าที่ควบคุมการขนส่งเงินจากศูนย์บ้านบึงไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โดยโจทก์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าชุดและมีพนักงานอื่นในทีมอีก 2 คน คือ พนักงานขับรถและพนักงานคุ้มกัน สภาพการทำงานพนักงานในชุดจะต้องดำเนินการตรวจเช็คถุงใส่เงินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และตรวจสอบหมายเลขที่ซีลปิดถุงใส่เงินให้ถูกต้อง แล้วลำเลียงขนถุงใส่เงินขึ้นรถเพื่อขนส่งไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อคุ้มครองดูแลเงินในครอบครองให้ถึงที่หมายปลายทางด้วยความปลอดภัย โจทก์ปล่อยให้พนักงานขับรถตรวจสอบถุงเงินเอง ส่วนโจทก์ให้พนักงานคุ้มกันอ่านหมายเลขซีลปิดถุงให้ฟังเท่านั้น และโจทก์ปล่อยให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานในชุดขนเงินร่วมเดินทางไปด้วย ในที่สุดตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดพบว่าบุคคลอื่นที่ร่วมเดินทางมาด้วยขณะทำหน้าที่เป็นพนักงานปิดซีลปากถุงใส่เงินได้เปิดช่องโหว่ปากถุงไว้ 1 ช่อง ขนาดใหญ่พอที่จะสามารถล้วงเอาเงินในถุงออกไปได้โดยไม่ได้ใช้เหล็กร้อยปิดปากถุงไปทั้งหมด การที่เงินในถุงใส่เงินที่อยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ได้หายไปจึงเกิดจากโจทก์ไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาความปลอดภัยในทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลตามหน้าที่ ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11432/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุประมาทเลินเล่อ: การปล้นทรัพย์และบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายไม่ถือเป็นความประมาท
รถบรรทุกสิบล้อขนส่งเหล็กที่จำเลยที่ 2 ขับมีน้ำหนักมาก คนขับจำต้องตรวจสอบยางเป็นระยะ เพื่อป้องกันมิให้ยางระเบิดซึ่งอาจทำให้รถพลิกคว่ำเป็นเหตุให้รถและเหล็กที่บรรทุกมาเสียหายได้ ถนนที่เกิดเหตุก็เป็นถนนคอนกรีตฝั่งละ 3 ช่องทางเดินรถ มีเกาะกลางถนนและมีไฟฟ้าส่องสว่าง ไม่ใช่ถนนที่มีสภาพเปลี่ยวมากนัก เมื่อถูกคนร้ายปล้นรถและเหล็กแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ถูกคนร้ายใช้มีดฟันจนดั้งจมูกหัก แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจคาดหมายว่าจะถูกคนร้ายปล้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529-3530/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้จำเลยเสียหาย มีสิทธิเลิกจ้างและฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ ในคืนเกิดเหตุรถไถหายไป ด. พนักงานขับรถไถของจำเลยเข้างานช่วงเวลาเดียวกับโจทก์ทั้งสอง ด. จึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ทั้งสอง ซึ่งจำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานว่า หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการต้องปฏิบัติตามคำบรรยายลักษณะงานที่กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ในข้อ 3.6 ให้ต้องตรวจสอบการทำงานของช่างขับ (พนักงานขับรถ) ให้ปฏิบัติตามกฎของจำเลย โดยจะต้องนำรถไถเข้าไปจอดภายในโรงงาน และตามระเบียบปฏิบัติ ข้อ 14 ให้ติดตามการทำงานของช่างขับอย่างใกล้ชิด และข้อ 15 ให้ติดตามผลเป้าหมายงานทุก ๆ ชั่วโมง แม้ ด. จะละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบ หากโจทก์ทั้งสองยึดถือระเบียบการทำงานอย่างเคร่งครัด โจทก์ทั้งสองก็จะทราบในทันทีก่อนรถไถหายไปว่า ด. ไม่นำรถไถเข้าไปเก็บไว้ในโรงงาน การกระทำของโจทก์ทั้งสองถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3)
ฟ้องแย้งจำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการขอให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดต่อจำเลย แต่การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องดุลพินิจซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจจะกระทำได้ ในปัญหานี้ศาลแรงงานภาค 2 ยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงมาว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายแก่จำเลยจำนวนคนละเท่าใด จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ฟ้องแย้งจำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการขอให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดต่อจำเลย แต่การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องดุลพินิจซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจจะกระทำได้ ในปัญหานี้ศาลแรงงานภาค 2 ยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงมาว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายแก่จำเลยจำนวนคนละเท่าใด จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8570/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์ความผิดลูกจ้าง และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
แม้ศาลแรงงานจะฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) แต่เมื่อจำเลยมิได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงยกเหตุตามมาตรา 119 ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามมาตรา 67 ไม่ได้ และยังต้องถือว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้มีความผิดตามมาตรา 119 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 67 ให้แก่โจทก์
การพิจารณาว่าจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ เพียงใด นั้น จะต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 และมาตรา 583 หรือตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้วแต่กรณี จะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ห้ามนายจ้างยกเหตุผลซึ่งมิได้ระบุไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังมาใช้เพื่อตัดสิทธิของนายจ้างมิให้ยกขึ้นต่อสู้ในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยไม่ได้ เมื่อโจทก์กระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) จำเลยจึงไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ และการเลิกจ้างนี้ก็มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การพิจารณาว่าจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ เพียงใด นั้น จะต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 และมาตรา 583 หรือตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้วแต่กรณี จะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ห้ามนายจ้างยกเหตุผลซึ่งมิได้ระบุไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังมาใช้เพื่อตัดสิทธิของนายจ้างมิให้ยกขึ้นต่อสู้ในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยไม่ได้ เมื่อโจทก์กระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) จำเลยจึงไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ และการเลิกจ้างนี้ก็มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่ระบุเหตุผล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจะอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 17 วรรคสาม แม้โจทก์กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงซึ่งเข้าข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (3) แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ, ความผิดตามข้อบังคับบริษัท และการละทิ้งหน้าที่
ในหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ว่า โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมเห็นได้ว่าที่โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าจนทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่จำเลยส่งไปให้แก่ลูกค้าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) นั่นเอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้คดีโดยระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตรงตามที่จำเลยได้ให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแล้ว
เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก
การกระทำของโจทก์โดยการข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สนใจหรือละเลยหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งกฎข้อบังคับของจำเลย ละทิ้งหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 3.2.4 ข้อ 3.1.9 และข้อ 3.2.14 ซึ่งตามมาตรการลงโทษสำหรับความผิดตามข้อ 3.2.4 และข้อ 3.2.14 จะต้องเป็นการกระทำผิดในครั้งที่ 3 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ส่วนความผิดตามข้อ 3.1.9 จะต้องเป็นการกระทำความผิดในครั้งที่ 2 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในสามกรณีดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิดในแต่ละกรณีเป็นครั้งที่ 1 จึงถือได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดให้การกระทำผิดของโจทก์ทั้งสามกรณีดังกล่าวเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันที จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก
การกระทำของโจทก์โดยการข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สนใจหรือละเลยหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งกฎข้อบังคับของจำเลย ละทิ้งหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 3.2.4 ข้อ 3.1.9 และข้อ 3.2.14 ซึ่งตามมาตรการลงโทษสำหรับความผิดตามข้อ 3.2.4 และข้อ 3.2.14 จะต้องเป็นการกระทำผิดในครั้งที่ 3 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ส่วนความผิดตามข้อ 3.1.9 จะต้องเป็นการกระทำความผิดในครั้งที่ 2 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในสามกรณีดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิดในแต่ละกรณีเป็นครั้งที่ 1 จึงถือได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดให้การกระทำผิดของโจทก์ทั้งสามกรณีดังกล่าวเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันที จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อ แม้จะมีความเสียหายเกิดขึ้นบ้าง แต่หากไม่ร้ายแรงเพียงพอ ศาลไม่อาจถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
โจทก์มีหน้าที่จัดการให้มีการส่งเทปรายการโทรทัศน์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้แก่สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 โดยเร็ว เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวมีเวลาตรวจสอบและนำออกอากาศได้ทันเวลา โจทก์หลงลืม จัดส่งเทปโทรทัศน์รายการ "แฟชั่นมิวสิค" ของจำเลยจนได้รับแจ้งจากผู้ช่วยผู้จัดการจำเลย โจทก์จึงรีบติดต่อจัดส่งเทป ดังกล่าวไปให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ก่อนกำหนดเวลาออกอากาศประมาณครึ่งชั่วโมง และเทปดังกล่าวถูกนำออกอากาศตามกำหนดเวลา เป็นเหตุให้จำเลยถูกสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยวาจา การตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยวาจาดังกล่าวเป็นเพียงการเตือนเพื่อป้องปรามมิให้เกิดเหตุทำนองนี้อีก และการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของโจทก์เพียงแต่ทำให้การออกอากาศรายการ "แฟชั่นมิวสิค" ฉุกละหุกบ้างเท่านั้น ทั้งปรากฏว่าหลังเกิดเหตุสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวก็ยังคงให้รายการ "แฟชั่นมิวสิค" ของจำเลยออกอากาศได้ตามผังรายการตลอดมา ความเสียหาย ที่จำเลยได้รับจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แม้จะมีอยู่บ้างในแง่ของผู้ประกอบธุรกิจแต่ก็ไม่ถึงกับเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5168/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่แจ้งในหนังสือเลิกจ้าง การเลิกจ้างด้วยเหตุประมาทเลินเล่อไม่ถึงขั้นเลิกจ้าง
คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกนั้นอ้างเหตุแต่เพียงว่าโจทก์ได้เก็บเงินค่าโดยสารแล้วตัดตั๋วให้ผู้โดยสารไม่ครบราคา เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ มิได้อ้างว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่งและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย จำเลยก็ชอบที่ยกเหตุที่ระบุในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์ได้กระทำการดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่งและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือไว้แล้วซึ่งนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งของจำเลยอันเป็นหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ไม่ได้
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเงินค่าโดยสารจากผู้โดยสารเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท โจทก์ได้ตัดตั๋วราคา 6 บาท และทอนเงิน 4 บาท ให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นการตัดตั๋วไม่ครบราคา โดยโจทก์ไม่มีเจตนาเบียดบังเงินจำนวน 10 บาท เป็นของตนโดยทุจริต แต่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายเพียงเล็กน้อย ดังนี้การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของจำเลยกรณีที่ไม่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย และย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเงินค่าโดยสารจากผู้โดยสารเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท โจทก์ได้ตัดตั๋วราคา 6 บาท และทอนเงิน 4 บาท ให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นการตัดตั๋วไม่ครบราคา โดยโจทก์ไม่มีเจตนาเบียดบังเงินจำนวน 10 บาท เป็นของตนโดยทุจริต แต่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายเพียงเล็กน้อย ดังนี้การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของจำเลยกรณีที่ไม่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย และย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โรงพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมี อุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยต่อไป หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โจทก์นำเลือดของผู้ป่วยโรคไตไปตรวจ แต่ผลการตรวจเลือดไม่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วย เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจเลือดของผู้ป่วยรายนี้อีกครั้ง ผลการตรวจเลือดในครั้งที่สองซึ่งเป็นผลการตรวจที่ถูกต้อง ได้ผลเลือดที่มีค่าแตกต่างจากที่ตรวจในครั้งแรกมาก และในวันที่เป็นเวรของโจทก์ที่จะต้องเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อ้างว่าสั่งให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน นอกจากนี้เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์หาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิด แต่โจทก์ตรวจหาให้เพียงชนิดเดียว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน จึงต้องสั่งให้โจทก์ตรวจหาค่าที่ยังไม่ได้ตรวจอีกชนิดหนึ่ง การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยผู้ป่วยและชื่อเสียงโรงพยาบาล
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจผลเลือด ผลทางเคมีเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องอันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ตรวจผลเลือดของผู้ป่วยไม่ถูกต้องจนต้องนำเอาเลือดผู้ป่วยไปตรวจใหม่และไม่เตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในขณะที่เป็นเวรของโจทก์แต่กลับให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งต่อมาแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจหาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิดโจทก์ก็ตรวจหาผลทางเคมีให้เพียงชนิดเดียวทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคไม่ครบถ้วนนั้น จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่อันเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงและยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583