พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องประเมินตามพจนานุกรมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าหยุดพักผ่อนประจำปี และความผิดตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท
คำว่า สุจริต ในป.พ.พ. มาตรา 583 มิได้หมายความว่าโจทก์จะต้องกระทำการโดยไม่ทุจริต แต่กรณีนี้มีความหมายว่า โจทก์ทราบถึงเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้ว แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความรอบคอบเต็มความสามารถ โดยมิได้แจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยทั้งหมดให้เข้มงวดตรวจตราคนเข้าออกภายในอาคารจึงเกิดความเสียหายขึ้น เป็นความประพฤติที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัยของโจทก์ตามความหมายคำว่า "สุจริต" ในบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
โจทก์กระทำผิดเพียงแต่ไม่ได้กำชับให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคนตรวจตราเคร่งครัดมิให้ผู้ไม่มีสิทธิใช้ลิฟต์ของผู้บริหารขึ้นไปบนอาคาร ชั้น 8 อันเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ประกอบกับจำเลยได้รับความเสียหายเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์หายไป 2 เครื่องเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีร้ายแรง ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(3)
ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกลักไป เป็นข้อมูลความลับทางการค้าของจำเลย หากถูกเปิดเผยไปยังบริษัทคู่แข่งทางการค้าจำเลยจะได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คู่มือพนักงานของจำเลยระบุว่า เงินบำเหน็จ คือเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานโดยไม่มีความผิดตามข้อกำหนด ส่วนมากเงินดังกล่าวนายจ้างจะจ่ายให้เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมาจนออกจากงานข้อกำหนดดังกล่าวย่อมรวมถึงข้อกำหนดหน้าที่การงานของโจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดดังกล่าวทำให้คนร้ายขึ้นไปลักเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยไปได้ 2 เครื่อง กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์กระทำผิดตามข้อกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้เงินบำเหน็จ
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทำงานไม่ครบปี การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ปรากฎว่า โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 7 วัน แต่โจทก์ทำงานในปี 2542 เพียง 6 เดือน 15 วัน ซึ่งคำนวณตามส่วนแล้ว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จำนวน 3.79 วัน เมื่อรวมกับปี 2541 แล้วโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีรวม 10.79 วัน คิดเป็นเงินจำนวน 7,328.20 บาท
โจทก์กระทำผิดเพียงแต่ไม่ได้กำชับให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคนตรวจตราเคร่งครัดมิให้ผู้ไม่มีสิทธิใช้ลิฟต์ของผู้บริหารขึ้นไปบนอาคาร ชั้น 8 อันเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ประกอบกับจำเลยได้รับความเสียหายเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์หายไป 2 เครื่องเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีร้ายแรง ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(3)
ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกลักไป เป็นข้อมูลความลับทางการค้าของจำเลย หากถูกเปิดเผยไปยังบริษัทคู่แข่งทางการค้าจำเลยจะได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คู่มือพนักงานของจำเลยระบุว่า เงินบำเหน็จ คือเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานโดยไม่มีความผิดตามข้อกำหนด ส่วนมากเงินดังกล่าวนายจ้างจะจ่ายให้เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมาจนออกจากงานข้อกำหนดดังกล่าวย่อมรวมถึงข้อกำหนดหน้าที่การงานของโจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดดังกล่าวทำให้คนร้ายขึ้นไปลักเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยไปได้ 2 เครื่อง กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์กระทำผิดตามข้อกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้เงินบำเหน็จ
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทำงานไม่ครบปี การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ปรากฎว่า โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 7 วัน แต่โจทก์ทำงานในปี 2542 เพียง 6 เดือน 15 วัน ซึ่งคำนวณตามส่วนแล้ว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จำนวน 3.79 วัน เมื่อรวมกับปี 2541 แล้วโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีรวม 10.79 วัน คิดเป็นเงินจำนวน 7,328.20 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากความเสียหายไม่ร้ายแรง
แม้การขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยได้รับอันตรายแก่กาย หน้าผากแตกเลือดซึม ตาซ้าย ไหล่ซ้ายเอว และขาซ้ายเจ็บ และทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่การบาดเจ็บของผู้จัดการทั่วไปเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย ทั้งค่าเสียหายของรถยนต์ดังกล่าวบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จำเลยจึงได้รับความเสียหายอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ยังถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย