พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยมีภาระจำนอง ทายาทต้องรับภาระตามสิทธิและหน้าที่ของเจ้ามรดก
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของน. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนอง ถ้ามีการบังคับจำนองโดย น.ไม่ชำระหนี้แล้วทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดกทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส vs. มรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังชำระหนี้กองมรดก และสิทธิของทายาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อนซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส vs. สินเดิม: การแบ่งทรัพย์มรดกและการหักหนี้กองมรดก
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค 2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค 2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อทายาท
คดีก่อนที่จำเลยฟ้อง พ.มารดาโจทก์เพื่อให้ชำระหนี้ของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาโจทก์หากไม่ชำระขอให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เป็นกรณีเจ้าหนี้กองมรดกบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 เมื่อ พ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า พ.จะโอนที่ดินกับบ้านซึ่งนำมาจำนองไว้นั้นให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้จำนอง เมื่อ พ.ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ถ้า พ.ไม่ดำเนินการก็ให้บังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ทันที และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ถือว่า พ.กระทำไปในฐานะทายาทของผู้ตายเพื่อจัดการเกี่ยวกับมรดกหาใช่กระทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่ แม้โจทก์จะมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1546 ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์จึงจะมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากกองมรดก: โอนโฉนดรับมรดกไม่ทำให้ทรัพย์พ้นจากหนี้สินของผู้ตาย
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ. ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ.ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของพ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ. ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกยังคงรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย แม้มีการโอนชื่อในโฉนดเป็นผู้รับมรดก
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ.ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของ พ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ.ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากกองมรดก: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นมรดกของผู้ตายจริง
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้รับมรดกของ ป. ชำระค่าจ้างว่าความจากกองมรดกของ ป. ให้โจทก์ โจทก์นำยึดตึกซึ่งเป็นของจำเลยกับภริยาโดยอ้างว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. ไป คือ ที่ดินโฉนดที่ 5813 ซึ่งมีราคามากกว่า หนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้แก่โจทก์ และโจทก์รับว่าที่ดินโฉนดนี้มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ แม้จำเลยกับภริยาจะแถลงรับว่าจำเลยกับ ป. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมยกที่ดินนี้ให้ ภ. แล้วจำเลยได้ขายไปเสีย แต่จำเลยก็ได้โต้แย้งว่าเป็นที่ดินของจำเลยเองที่ยินดีสละให้แก่ ภ. ไม่ใช่ทรัพย์ของ ป. และไม่ใช่มรดกของ ป. ในขณะที่ ป. ตาย ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานก็ไม่มีทางจะฟังได้ดังโจทก์อ้างว่าที่ดินนี้เป็นมรดกของ ป. ศาลย่อมพิพากษาให้ถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากมรดก: จำเลยต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดไม่ใช่ส่วนหนึ่งของมรดก
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้รับมรดกของ ป. ชำระค่าจ้างว่าความจากกองมรดกของ ป. ให้โจทก์ โจทก์นำยึดตึกซึ่งเป็นของจำเลยกับภริยา โดยอ้างว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. ไป คือ ที่ดินโฉนดที่ 5813 ซึ่งมีราคามากกว่าหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้แก่โจทก์ และโจทก์รับว่าที่ดินโฉนดนี้มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ แม้จำเลยกับภริยาจะแถลงรับว่าจำเลยกับ ป. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมยกที่ดินนี้ให้ ภ. แล้วจำเลยได้ขายไปเสีย แต่จำเลยก็ได้โต้แย้งว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ยินดีสละให้แก่ ภ. ไม่ใช่ทรัพย์ของ ป. และไม่ใช่มรดกของ ป. ในขณะที่ ป. ตาย ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ก็ไม่มีทางจะฟังได้ดังโจทก์อ้างว่าที่ดินนี้เป็นของ ป. ศาลย่อมพิพากษาให้ถอนการยึด