คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1738

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแก่ทายาท: ศาลสั่งให้ทายาทชำระหนี้จากกองมรดกได้ ไม่เกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยตายก่อนได้รับคำบังคับ โจทก์ขอให้ส่งคำบังคับแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นภรรยาจำเลยแทนได้ และการที่ศาลพิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของจำเลย เอาทรัพย์สินจากกองมรดกของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกจากคำพิพากษาตามยอม แม้ผู้รับมรดกจะได้รับโอนทรัพย์แล้ว
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตายผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการแม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้วแต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรงไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกเมื่อทายาทรับโอนทรัพย์สินก่อนชำระหนี้
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น. ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย.ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา.
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ. แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว. แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736. เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้. ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง. ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่.
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ1 ปี. แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี.(ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกของผู้ตายจากการซื้อขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมาย และโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรม และจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดก มิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกยึดทรัพย์มรดกได้ แม้โอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว หากยังมิได้แบ่งมรดก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตาม ทีJพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับกองมรดกก่อนแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ในกองมรดก แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตามที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพยในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังแบ่งมรดก: เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะส่วนของผู้ถูกฟ้องคดี
ในกรณีที่ได้แบ่งมรดกแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องให้ทายาทคนใดชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นรับไป หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกจากทายาทคนอื่นที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: เจ้าหนี้บังคับได้เฉพาะส่วนที่ทายาทได้รับเท่านั้น
ในกรณีที่ได้แบ่งมรดกแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องให้ทายาทคนใดชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นรับไป หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกจากทายาทคนอื่นที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการปลงศพกู้เงินทำศพและหักจากกองมรดกได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท
ภรรยาผู้ตายย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการปลงศพผู้ตาย และมีสิทธิไปกู้เงินมาใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น
เงินที่กู้มาใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก เมื่อเป็นจำนวนไม่เกินสมควรแล้ว ให้หักออกจากกองมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการปลงศพกู้เงินทำศพ และการหักหนี้จากกองมฤดก
ภรรยาผู้ตายย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการปลงศพผู้ตาย และมีสิทธิไปกู้เงินมาใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น
เงินที่กู้มาใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามฤดก เมื่อเป็นจำนวนไม่เกินสมควรแล้ว ให้หักออกจากกองมฤดกได้
of 4