คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 467

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินส่วนเกินหลังการแบ่งแยกโฉนด ไม่เข้าข่ายอายุความมาตรา 467
เดิมโจทก์ได้ตกลงแบ่งขายที่ดินมีโฉนดของโจทก์ให้แก่จำเลยเป็นเนื้อที่ 6 ไร่ โดยให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินดังกล่าวตามส่วน ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกโฉนดออกเป็นส่วนของจำเลย ปรากฏว่าเนื้อที่ดินตามโฉนดที่ออกให้แก่จำเลยมีจำนวน 6 ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา เกินกว่าที่ตกลงซื้อขายเดิมโจทก์จึงฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่เกินคืนจากจำเลย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 467 ไม่ จึงนำอายุความตามมาตรานี้มาใช้ปรับแก่คดีตามข้อตัดฟ้องของจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดชอบจากทรัพย์สินชำรุดบกพร่องและการส่งมอบเป็นงวด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น. ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว. หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้. โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย.
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ. สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด. มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน. แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน. แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง. จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา. แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด. แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง. หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย.หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง. ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่. แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก. เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้. งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว. ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น. แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย. ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง. อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467.
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา. ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย.ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้. และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474. ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป. แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง. จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดจากทรัพย์สินชำรุด/ขาดจำนวน แบ่งแยกงวดส่งมอบ & ความแตกต่างการไม่ชำระหนี้ vs. ชำรุดบกพร่อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น 2 งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลยหรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลยไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายทรัพย์สินชำรุดบกพร่อง และการแยกพิจารณาหนี้ตามงวดการส่งมอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค: ผู้สลักหลังมีหน้าที่รับผิดตามเช็ค แม้ไม่ได้มีฐานะผู้ค้ำประกันหรือผู้รับอาวัล
จำเลยที่ 1 ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 2 ลงนามสลักหลังเช็คนั้น แต่โจทก์ขึ้นเงินไม่ได้ในวันที่ลงในเช็ค เช่นนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 400,467 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่ง ก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ ฐานะของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ค้ำประกันหรือเป็นผู้รับอาวัล เมื่อเช็คฉบับนี้ทางธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามที่ตนได้ลงนามสลักหลังเช็คนั้นไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขการส่งมอบ
จำเลยขายที่ดินให้โจทก์พร้อมทั้งสัญญาว่าเมื่อสอบเขตแล้วที่ดินขาดจำนวนไปเท่าใด จำเลยยอมคืนเงินให้ตามส่วน นั้น ถึงแม้จำเลยจะส่งมอบที่ดินให้โจทก์แล้วก็ตาม ถ้าเป็นการส่งมอบโดยมีเงื่อนไขจะต้องตรวจสอบเขตที่ดินให้รู้จำนวนแน่นอนจึงจะถือว่าการส่งมอบบริบูรณ์นั้น อายุความฟ้องร้องต้องเริ่มนับแต่มีการส่งมองที่สมบูรณ์ปราศจากเงื่อนไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางมัดจำและผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
พฤติการณ์ที่นับว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
เมื่อสัญญาวางเงินมัดจำปรากฏชัดแจ้งว่าการซื้อขายที่ดินตกลงราคากัน 40,000 บาท โจทก์ได้วางเงินมัดจำให้จำเลยรับไปในวันทำสัญญา 30,000 บาท จำเลยจะอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับเงินไปในวันทำสัญญาเพียง 5,000 บาท ย่อมเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางเงินมัดจำที่จำเลยทำให้โจทก์ยึดถือไว้ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ในคดีฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะโดยอ้างว่าสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงในเรื่องความประมาทเลินเล่อฯ ไว้ในคำให้การ ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะพึงรับพิจารณาวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์สินเช่าขาดตกบกพร่อง ตามมาตรา 549 และ 467
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 นั้น ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายในเรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย(หมวดที่ 2) มาใช้บังคับแก่การเช่าทรัพย์โดยอนุโลมตามควรคือไม่เฉพาะแต่ส่วนที่ 2 แต่ให้นำส่วนที่ 1 ว่าด้วยการส่งมอบมาบังคับด้วย
จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ส่งมอบสวนยางที่จำเลยเช่าขาดจำนวนตามสัญญาเช่า ดังนี้เป็นเรื่องทรัพย์ขาดตกบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ว่าด้วยการส่งมอบ ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 อายุความต้องถือมาตรา 467 คือห้ามฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปีเมื่อคดีของจำเลยเกิน 1 ปี แล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์ ทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง อายุความฟ้องแย้ง มาตรา 549 และ 467 ป.พ.พ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 549 นั้น ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายในเรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย (หมวดที่ 2) มาใช้บังคับแก่การเช่าทรัพย์โดยอนุโลมตามควรคือไม่ฉะเพาะแต่ส่วนที่ 2 แต่ให้นำส่วนที่ 1 ว่าด้วยการส่งมอบมาบังคับด้วย จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ส่งมอบสวนยางที่จำเลยเช่าขาดจำนวนตามสัญญาเช่า ดังนี้ เป็นเรื่องทรัพย์ขาดตกบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ว่า ด้วยการส่งมอบ ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 อายุความต้องถือมาตรา 467 คือ ห้ามฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปี เมื่อคดีของจำเลยเกิน 1 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินเกินชำระ: คดีก่อนไม่ใช่เรื่องขาดตกบกพร่อง แต่เป็นเรื่องเนื้อที่ซื้อขายไม่ครบ ศาลใช้มาตรา 419
คดีก่อนโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักย้ายหลักเขตที่ดินที่จำเลยขายแก่โจทก์ ขอให้จำเลยส่งมอบที่ดินที่ขาด หรือใช้ราคา
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องยักย้ายหลักเขตเป็นเรื่องเนื้อที่ที่ซื้อขายกันมีไม่ครบตามสัญญา และจะบังคับให้จำเลยใช้เงินราคาที่ดินไม่ได้ เพราะเป็นการฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ขาดพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีใหม่เรียกเงินที่ชำระให้แก่จำเลยเกินไป อันเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ จึงนำอายุความตามมาตรา467 มาบังคับไม่ได้ ต้องบังคับตามมาตรา 419 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเรียกคืนลาภมิควรได้
of 5