คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11741/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย (มาตรา 153) เป็นความผิดสำเร็จ แม้หนี้ยังไม่ระงับ และการกระทำเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 153 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการจ่ายทรัพย์นั้นต้องทำให้หนี้ระงับลงด้วย เพราะความผิดมาตรานี้ต้องการลงโทษเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเท่านั้น แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์จะชำระหนี้ด้วยเช็ค และ ก. ผู้ได้รับชำระหนี้ยังไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากถูกเรียกทวงคืนก่อนอันทำให้หนี้นั้นยังไม่ระงับลงก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 153 แล้ว หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์พยายามจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 153 ประกอบมาตรา 83 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงินค่าจ้างโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่สุขาภิบาล
จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งปลัดสุขาภิบาล ค. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้เป็นผู้ตรวจงานจ้างในการจ้างเหมาขุดลอกและล้างทางระบายน้ำในเขตสุขาภิบาล ค. และจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าพนักงานได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการตรวจการจ้างในการจ้างก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลต์ในเขตสุขาภิบาล ค. แม้สัญญาจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำได้ระบุชื่อ ส.เป็นผู้รับจ้าง แต่ ส.ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นในการรับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำของสุขาภิบาล ค. อีกทั้งลายมือชื่อในช่องผู้รับจ้างตามสัญญาข้อตกลงจ้างลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินและลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามฎีกาเบิกเงินมิใช่ลายมือชื่อของ ส. หากแต่จำเลยที่ 1 เข้าไปจัดการให้ตั้งแต่ขอตั้งฎีกาเบิกเงินและรับเงินเอาไปเองโดยไม่ปรากฏมีตัว ส.เข้าไปแสดงตนเพื่อขอเบิกเงินตามที่ได้รับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำแต่อย่างใด เมื่อ ส.มิใช่เป็นผู้รับจ้างทำงานรายนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าดำเนินการขุดลอกและล้างทางระบายน้ำโดยใช้คนงานของสุขาภิบาล ค.ทำงานให้ จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นปลัดสุขาภิบาล ค.ถือว่าเป็นผู้มีหน้าที่จัดการและดูแลกิจการของสุขาภิบาล ค. เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างคนงานเพียง 1,750 บาท แต่เบิกเงินค่าจ้างตามสัญญาไป 2,900 บาทเป็นเหตุให้สุขาภิบาล ค.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152, 157 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 152 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด(ทวีชัย เจริญบัณฑิต - ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา - พิชัย เตโชพิทยากูล)ศาลจังหวัดปัตตานี นายไกรรัตน์ วีรพัฒนาสุวรรณศาลอุทธรณ์ นายประจวบ พัชนีรัตนกรณ์
นายชีพ จุลมนต์ - ตรวจ
นายบุญส่ง โพธิ์พุทธชัย - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเจตนากร ปุญญะปัญญา - นิติกร/ย่อ
สุมาลี พิมพ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควร และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาต่อข้าราชการทุจริต: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลยนายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายจำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวา ดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอและโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้ แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชี ซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไปเมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาของนายอำเภอในฐานะกรรมการสุขาภิบาล: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีอำนาจสั่งดำเนินคดีได้
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลย นายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ลูกจ้าง' โรงงานสุรา ไม่ใช่ 'เจ้าพนักงาน' ทำให้ฟ้องทุจริตไม่ได้ แม้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบข้อบังคับของโรงงานสุราแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นผู้บรรจุแต่งตั้งก็ตาม ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่ต้องรับอนุมัติจาก ก.พ.การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งเป็นไปตามข้อบังคับของโรงงานสุรา ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ จำเลยได้รับเงินเดือนจากรายได้ของโรงงานสุราไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินเมื่อจะออกจากงานก็ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญจำเลยทำงานอยู่ในโรงงานสุราโดยมีค่าจ้าง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น ถือว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายและถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไปเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะจำเลยเป็นลูกจ้างโรงงานสุรา ไม่ใช่เจ้าพนักงาน ทำให้ไม่อาจลงโทษฐานทุจริตต่อหน้าที่ได้
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบข้อบังคับของโรงงานสุรา แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้บรรจุแต่งตั้งก็ตาม ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่ต้องรับอนุมัติจาก ก.พ. การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งเป็นไปตามข้อบังคับของโรงงานสุรา ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ จำเลยได้รับเงินเดือนจากรายได้ ของโรงงานสุราไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน เมื่อจะออกจากงานก็ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ จำเลยทำงานอยู่ในโรงงานสุราโดยมีค่าจ้าง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น ถือว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย และถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยกฟ้อง: ไม่มีประเด็นทางกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย
ยกฟ้อง
of 2