คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 302 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขอโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดี มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนที่ พ. มารดาโจทก์จะถึงแก่ความตาย โจทก์และจำเลยเคยร่วมกันทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินของ พ. ไว้ในคดีแพ่ง โดยทั้งสองฝ่ายตกลงยกที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์ของ พ. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ประสงค์จะขอรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการให้ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่มาฟ้องเป็นคดีใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12041/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นศาลชั้นต้น แม้คดีอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการบังคับคดี: ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีหรือศาลที่ออกหมายบังคับคดีเท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีของศาลแพ่งซึ่งออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีบังคับคดีแทน จำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะดำเนินการไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง กรณีจึงต้องด้วยบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 15 วรรคท้ายและมาตรา 302 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย โดยโจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีคือศาลแพ่งหรืออาจยื่นต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีและบังคับคดีแทนเท่านั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีโดยอ้างเหตุจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งมาตรา 4 ดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 7 ศาลแพ่งธนบุรีจึงไม่มีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องเขตอำนาจศาลบัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมาตรา 15 วรรคสอง ที่ผู้ร้องอ้างเพียงแต่บัญญัติให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 302 วรรคสาม บทกฎหมายดังกล่าวหาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่าศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ไต่สวนและมีคำสั่ง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไปนั้น มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจคือศาลจังหวัดเชียงใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 290 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นในคดีนี้คือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า คดีก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษา ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 โฉนดทั้งที่ศาลมิได้พิพากษาให้แบ่งแยกตามรูปแผนที่ท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ต้องเสนอต่อศาลที่พิจารณาคดีชั้นต้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302(3)(4)" และ มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมร่วมด้วย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 (3)...(4)..." และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที แม้จะชำระภายหลัง
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่15ของเดือนช่วง3เดือนแรกคือเดือนธันวาคม2536เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2537เดือนละ10,000บาทตั้งแต่เดือนมีนาคม2537เป็นต้นไปเดือนละ15,000บาทจนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่15ธันวาคม2536ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่20มกราคม2537เป็นเงิน5,000บาทและในวันที่24มกราคม2537อีก5,000บาทเป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรสในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วยและถ้าเป็นของธ.จริงก็เป็นเรื่องของธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้นปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกาทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคแรกจำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
of 2