คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กเยาวชนแทนการดำเนินคดีอาญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 (กฎหมายเดิม) และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนยุติธรรมเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนยุติธรรมได้ ซึ่งตามมาตรา 63 (กฎหมายเดิม) ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผน ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องจะต้องให้ศาลพิจารณาก่อนตามมาตรา 86 ถ้าศาลเห็นชอบกับแผนและมีการปฏิบัติตามแผนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) โดยมาตรา 86 ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร" ดังนี้บ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวว่า ให้ศาลตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และสิทธิในการอุทธรณ์
พ. ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 4, 5, 6, 10, 12, 15 ศาลชั้นต้นตรวจสอบการจับแล้ว มีคำสั่งว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดจริง การจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้คัดค้านสืบเสาะข้อเท็จจริงและจัดทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ต่อมาผู้คัดค้านรายงานว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรีเห็นว่า ผู้ต้องหาอาจกลับตนเป็นพลเมืองดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง พนักงานอัยการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 โดยส่งแผนให้ศาลชั้นต้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 86 ได้ จึงไม่อนุญาต ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 (กฎหมายเดิม) และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติเป็นมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนยุติธรรมเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตามมาตรา 63 (กฎหมายเดิม) ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 (กฎหมายใหม่) ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบกับแผนหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผน ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง ต้องให้ศาลพิจารณาก่อน ถ้าศาลเห็นชอบกับแผน และมีการปฏิบัติตามแผนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) นอกจากนี้ตามมาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร" บ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตรานี้ว่า ให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้สั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มาตรา 86 เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจและพนักงานอัยการในการพิจารณาแผนบำบัดฟื้นฟู โดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กเยาวชนแทนการดำเนินคดีอาญา
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติให้ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนการเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติได้เช่นเดียวกับกฎหมายเดิมคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 ซึ่งมาตรา 63 ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผนผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง จะต้องให้ศาลพิจารณาก่อน ถ้าศาลเห็นชอบกับแผนและมีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 โดยมาตรา 86 วรรคสาม ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร" จึงบ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวว่า ให้ศาลตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ผู้คัดค้านเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 86 ได้ จึงเป็นการสั่งตามที่เห็นสมควรดังกล่าว ผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อุทธรณ์ว่าการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 เป็นอำนาจของผู้คัดค้านและพนักงานอัยการเท่านั้นจึงชอบแล้ว