พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์ – อายุความ – ยอมความ: การเบียดบังสินค้าคืนจากลูกค้าเป็นความผิดฐานยักยอก การแจ้งความหลังตรวจพบของกลางไม่ขาดอายุความ การรับปากคืนสินค้าไม่ใช่การยอมความ
จำเลยเป็นลูกจ้างขายสินค้าเวชภัณฑ์ ของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายจากโจทก์ร่วมให้ไปเก็บเงินค่าสินค้ายาและรับสินค้ายาคืนจากลูกค้าจำเลยได้รับสินค้ายามาแล้ว แต่ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ร่วม กลับนำไปขายต่อให้ลูกค้ารายอื่น อันเป็นการเบียดบังเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตย่อมมีความผิดฐานยักยอก ว.ตรวจร้านขายยาต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจำเลยรับสินค้ายาคืนมาแล้วไม่นำส่งโจทก์ร่วม จึงแจ้งให้ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของโจทก์ร่วมทราบเมื่อเดือนธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดนับแต่บัดนั้น โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อเดือนมกราคม 2527 คดีจึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นฎีกาได้ การที่จำเลยยอมรับว่าจะนำสินค้ายาตามบันทึกรายการสินค้ายาที่รับคืนมาจากลูกค้ามาคืนให้แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการยอมความอันจะทำให้คดีอาญาระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่เมื่อมีหลักฐาน
โจทก์ร่วมรู้ถึงการหลอกลวงตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 แม้เพิ่งมีหลักฐานเมื่อเดือนธันวาคม 2527 แสดงว่าจำเลยฉ้อโกง ก็เป็นเรื่องของการหาหลักฐานในการดำเนินคดี อันเป็นคนละกรณีกับที่โจทก์ร่วมรู้ว่าถูกหลอกลวง อายุความต้องเริ่มนับแต่เดือนกันยายน 2527โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์2528 จึงเกินกำหนด 3 เดือน เมื่อเป็นคดีความผิดอันยอมความได้คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์หากไม่ได้มีเจตนาให้ดำเนินคดี และคดีเช็คขาดอายุความหากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมายแต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถามผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค การกำหนดวันเกิดความผิด และความสมบูรณ์ของคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) และอายุความ
ปัญหาข้อกฎหมายว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและขาดอายุความเป็นปัญหาเกี่ยวกับความถูกต้องสมบูรณ์ของคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) และอายุความเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่เกิดในวันที่จำเลยเขียนเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน และฟ้องภายใน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งต่อไปแสดงว่า โจทก์ได้แจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษส่วนข้อความตอนท้ายหมายความว่า นอกจากโจทก์จะมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับจำเลยแล้ว โจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองอีกส่วนหนึ่งด้วย การที่โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปไม่มีผลกระทบต่อการแจ้งความร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค และการดำเนินการฟ้องคดีโดยโจทก์เอง
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งต่อไปแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษส่วนข้อความตอนท้ายหมายความว่า นอกจากโจทก์จะมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับจำเลยแล้ว โจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองอีกส่วนหนึ่งด้วยการที่โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปจึงไม่มีผลกระทบต่อการแจ้งความร้องทุกข์แต่อย่างใด ข้อความในรายงานดังกล่าวจึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7) โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค การรับเช็คคืนไม่กระทบการแจ้งความ และอายุความ
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งต่อไปแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษส่วนข้อความตอนท้ายหมายความว่า นอกจากโจทก์จะมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับจำเลยแล้ว โจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองอีกส่วนหนึ่งด้วยการที่โจทก์ขอรับเช็คกลับคืนไปจึงไม่มีผลกระทบต่อการแจ้งความร้องทุกข์แต่อย่างใด ข้อความในรายงานดังกล่าวจึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7)
โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์ความผิดอันยอมความได้: เริ่มนับเมื่อรู้ความผิดและตัวผู้กระทำความผิด
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์ความผิดอันยอมความได้ เริ่มนับจากวันที่รู้ความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิด ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ