คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 96

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์ความผิดอันยอมความได้ เริ่มนับจากวันที่รู้ความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิด ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์ความผิดอันยอมความได้: เริ่มนับเมื่อรู้ความผิดและตัวผู้กระทำความผิด
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – การร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหลายคราวต่อเนื่องกันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2530 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2530 ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 เป็นการร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความข่มขืนกระทำชำเรา: การร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2530จนกระทั่งถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2530 เป็นการกระทำผิดหลายคราวต่อเนื่องกันตลอดมา ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 เป็นการร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง-อายุความ-การหลอกลวงหางาน-ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ตัวแทนของจำเลยได้ติดต่อกับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตามมาตรา 341 ดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ให้รับผลตามคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการเริ่มนับอายุความในคดีฉ้อโกง การทราบความจริงเป็นสำคัญ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างต่อเติมบ้านโดยออกเช็คลงวันที่ 3 เมษายน 2530 ชำระค่าจ้างแก่โจทก์บางส่วนพร้อมกับกล่าวรับรองว่าโจทก์สามารถรับเงินได้แน่นอนเพราะจำเลยมีเงินในธนาคารพร้อมอยู่แล้วซึ่งเป็นความเท็จ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2530 โดยให้เหตุผลว่าบัญชีปิดแล้ว โจทก์ทวงถามจำเลยก็ผัดผ่อนเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่5 สิงหาคม 2530 โจทก์ให้ทนายความไปตรวจสอบจากธนาคารตามเช็คจึงทราบว่าบัญชีของจำเลยปิดแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2529 ตามฟ้องของโจทก์ย่อมเข้าใจได้ว่าในขณะที่จำเลยออกเช็คนั้นบัญชีของจำเลยปิดแล้ว แต่จำเลยปกปิดความจริง ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ซึ่งเข้าลักษณะฉ้อโกงตามกฎหมาย แม้ธนาคารแจ้งให้โจทก์ทราบว่าบัญชีปิดแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2530ธนาคารก็มิได้แจ้งว่าบัญชีปิดเมื่อใด โจทก์จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ จากคำบรรยายฟ้องของโจทก์พอเข้าใจได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้เรื่องความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 5สิงหาคม 2530 โจทก์มาฟ้องวันที่ 6 ตุลาคม 2530 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก ไม่ใช่ครั้งหลัง
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ครั้นวันที่ 6 มีนาคม 2530 โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน โจทก์จึงได้นำเช็คไปเข้าบัญชีใหม่อีกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530 และได้รับคำปฏิเสธการจ่ายเงินอีกครั้งหนึ่งเช่นนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินครั้งแรก ถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์มิได้ร้องทุกข์หรือดำเนินคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่าโจทก์รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดในวันที่ 12 มีนาคม 2530 อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับคำปฏิเสธการจ่ายเงินในครั้งหลัง จึงหามีผลเปลี่ยนแปลงคดีของโจทก์แต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นไม่รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด การมอบหมายหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มี คำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่ตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทน แต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้างานสำนักงาน ดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการ เป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วน จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2512 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด หากไม่มีคุณสมบัติ การมอบหมายหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มีคำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทนแต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้าคนงานสำนักงานดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการเป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วนจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
of 26