พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดเช็ค – วันหยุดราชการ – ความชัดเจนของฟ้อง
ความผิดอันยอมความได้ วันที่โจทก์รู้ความผิดของจำเลยครบ 3 เดือนเป็นวันเสาร์หยุดราชการถึงวันอาทิตย์ วันจันทร์โจทก์ยื่นฟ้องไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความโกงเจ้าหนี้: ตัวแทนรู้เรื่อง-รายงานนาย = โจทก์รู้ความผิด
การที่ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยในคดีล้มละลาย ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่จำเลยร่วมกันจำหน่ายทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำมาก ทำให้โจทก์เกิดความเสียหายและได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีกับฝ่ายจำเลยแสดงว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องการจำหน่ายทรัพย์รายนี้แล้วและจะอ้างว่าการกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ต่อโจทก์ เป็นเรื่องนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจไม่ได้เพราะ ก. เป็นตัวแทนกระทำการแทนโจทก์ทั้งสิ้น จะแยกฟังเฉพาะเรื่องที่เป็นคุณต่อโจทก์โจทก์จึงทราบ ส่วนเรื่องที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์โจทก์ไม่ทราบ เป็นการผิดวิสัยและขัดต่อเหตุผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญ มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเพิกถอนเช็คและการดำเนินคดีอาญา/แพ่งเกี่ยวกับเช็คที่ถูกปฏิเสธ
จำเลยที่ 1 นำเช็ค 5 ฉบับ มาขายลดแก่ธนาคารโจทก์โดยได้นำเช็ค 5 ฉบับนี้เข้าบัญชีเดินสะพัดของตนแล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินเท่าจำนวนในเช็คที่นำเข้าบัญชีให้ ท. นำไปซื้อดราฟท์จากธนาคารอื่นส่งไปให้ผู้ออกเช็คเหล่านั้นต่อมาธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็ค 5 ฉบับนั้นไม่ได้ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิเพิกถอนเช็คดังกล่าวเสียได้ตาม มาตรา 857
อายุความในการร้องทุกข์คดีอาญามีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดถึงแม้ธนาคารโจทก์จะแจ้งเรื่องที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ทราบเป็นเวลาถึง 8-9 เดือนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิร้องทุกข์ได้ เพราะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดและการฟ้องเรียกเงินตามเช็คในคดีแพ่งก็มีอายุความ 1 ปี ดังนี้ จะถือว่าธนาคารโจทก์ละเลยทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายไม่ได้
อายุความในการร้องทุกข์คดีอาญามีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดถึงแม้ธนาคารโจทก์จะแจ้งเรื่องที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ทราบเป็นเวลาถึง 8-9 เดือนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิร้องทุกข์ได้ เพราะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดและการฟ้องเรียกเงินตามเช็คในคดีแพ่งก็มีอายุความ 1 ปี ดังนี้ จะถือว่าธนาคารโจทก์ละเลยทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีบุกรุกเคหสถาน การไม่ร้องทุกข์ภายในกำหนด ทำให้คดีขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้ (มิได้อ้างมาตรา 365) โดยมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีบุกรุกเคหสถานและการร้องทุกข์เกินกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้ (มิได้อ้างมาตรา 365) โดยมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็คและการพิสูจน์การมอบอำนาจร้องทุกข์ที่ถูกต้อง แม้ชื่อกรรมการในเอกสารจะผิดพลาด
ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า ร้องทุกข์โดยได้รับมอบอำนาจจาก นายประสิทธิ์กรรมการของบริษัทโจทก์ ครั้นเมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยเสร็จแล้ว ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า เสมียนเวรของสถานีตำรวจฯ เขียนชื่อกรรมการผู้มอบอำนาจผิดพลาดไป ความจริงมีชื่อว่านายไกรสิทธิ์ ตามรายชื่อกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ และพนักงานสอบอสวนได้จัดการแก้ไขชื่อผู้มอบอำนาจเป็นชื่อนายไกรสิทธิ์ เป็นการถูกต้องแล้ว ปรากฏตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์แนบมาพร้อมดับคำร้อง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์แล้ว การที่เสมียนประจำวันจดบันทึกชื่อกรรมการผิดพลาดเพราะพลั้งเผลอ โดยจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด ถือว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์แล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์: การแก้ไขชื่อกรรมการในรายงานประจำวัน ไม่กระทบการฟ้องคดี
ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า ร้องทุกข์โดยได้รับมอบอำนาจจากนายประสิทธิ์กรรมการของบริษัทโจทก์ ครั้นเมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยเสร็จแล้วระหว่างนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า เสมียนเวรของสถานีตำรวจฯ เขียนชื่อกรรมการผู้มอบอำนาจผิดพลาดไป ความจริงมีชื่อว่านายไกรสิทธิ์ ตามรายชื่อกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ และพนักงานสอบสวนได้จัดการแก้ไขชื่อผู้มอบอำนาจเป็นชื่อนายไกรสิทธิ์ เป็นการถูกต้องแล้ว ปรากฏตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์แนบมาพร้อมกับคำร้อง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์แล้ว การที่เสมียนประจำวันจดบันทึกชื่อกรรมการผิดพลาดเพราะพลั้งเผลอ โดยจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด ถือว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์แล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดเช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่เมื่อนำเช็คไปขึ้นเงิน
โจทก์ร่วมมีเช็คของจำเลยในธนาคารเดียวกันซึ่งถึงกำหนดแล้วรวม 4 ฉบับได้นำเช็คไปขึ้นเงินในวันที่ 19 มีนาคม 2519 สองฉบับ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาโจทก์ร่วมได้นำเช็คอีก 2 ฉบับในคดีนี้ไปขึ้นเงินเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 เช่นนี้ ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค เช็ค 4 ฉบับ ฉบับแยกการกระทำออกจากกันได้เป็น 4 กรรม จึงไม่จำเป็นต้องนำไปขึ้นเงินพร้อมกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค 2 ฉบับ คดีนี้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2519 และโจทก์ร่วมร้องทุกข์ยังไม่เกิน 3 เดือน คดีจึงไม่ขาดอายุความ