พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนาจารและทำร้ายร่างกาย: กรรมเดียว ความผิดฐานอนาจารครอบคลุม ความสัมพันธ์บังคับบัญชาไม่เข้าข่ายควบคุมตามหน้าที่ราชการ คดีขาดอายุความ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำเป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานอนาจารและทำร้ายร่างกาย: การประทุษร้ายร่างกายเป็นการกระทำกรรมเดียวกับอนาจาร และไม่อยู่ในอำนาจควบคุมตามหน้าที่ราชการ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำ เป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296 อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงานท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคล หากไม่ได้มอบอำนาจชัดเจน
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคลนั้นซึ่งเป็นผู้เสียหาย
คำร้องทุกข์ที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าร้องทุกข์แทนนิติบุคคลหรือได้รับมอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์แทน ต้องถือว่าร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาลย่อมไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
คำร้องทุกข์ที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าร้องทุกข์แทนนิติบุคคลหรือได้รับมอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์แทน ต้องถือว่าร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาลย่อมไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด และอายุความคดีเช็ค
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับคดีเรื่องเช็คได้ทุกศาล เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนเฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หลังจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค 5 เดือนเศษ โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับคดีเรื่องเช็คได้ทุกศาล เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนเฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หลังจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค 5 เดือนเศษ โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญาและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวง
โจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทเปิดเผยความลับและทำให้เสียทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2510 แล้วโจทก์มาฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 322, 358 เมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2510 เกินกำหนด 3 เดือน โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องอาญา และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในศาลแขวง: กรณีหมิ่นประมาท ลักทรัพย์
โจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทเปิดเผยความลับและทำให้เสียทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2510 แล้วโจทก์มาฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 322, 358 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2510 เกินกำหนด 3 เดือน โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง จทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง จทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การฟ้องและการได้ตัวจำเลยมาศาลต้องภายในกำหนด ป.อ. มาตรา 95
คดีอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภายในกำหนดอายุความแล้ว แต่ไม่ได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดอายุความ ก็ต้องถือคดีเป็นอันขาดอายุความ จะนำเอาเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงเมื่อฟ้องคดีในทางแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ ป.อ. มาตรา 95 บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้ว
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เมื่อได้ร้องทุกข์ไว้ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 96 แห่ง ป.อ. แล้ว ย่อมมีอายุความห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 95(4) เมื่อฟ้องจำเลยไว้ภายในอายุความแล้ว แต่เพิ่งได้ตัวจำเลยมาศาล เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำผิด (วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน) คดีเป็นอันขาดอายุความ
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เมื่อได้ร้องทุกข์ไว้ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 96 แห่ง ป.อ. แล้ว ย่อมมีอายุความห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 95(4) เมื่อฟ้องจำเลยไว้ภายในอายุความแล้ว แต่เพิ่งได้ตัวจำเลยมาศาล เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำผิด (วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน) คดีเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีฉ้อโกง: การแจ้งความเพื่อรักษาอายุความเช็คไม่ใช่การร้องทุกข์
คำแจ้งความที่มีถ้อยคำที่แจ้งปรากฏชัดว่าโจทก์มาขอแจ้งความกล่าวหาว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คไม่มีเงินให้ผู้แจ้ง ผู้แจ้งยังไม่ประสงค์ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงแต่มาแจ้งให้ทราบไว้เป็นหลักฐาน มิให้เช็คขาดอายุความไปเท่านั้น ข้อความตามที่โจทก์แจ้งไม่ใช่คำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์รู้ว่าจำเลยฉ้อโกงโจทก์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507แล้วไปแจ้งความร้องทุกข์ เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินให้โจทก์ที่สถานีตำรวจเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2507 แล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2511 เช่นนี้ ถือว่าคดีขาดอายุความ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์รู้ว่าจำเลยฉ้อโกงโจทก์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507แล้วไปแจ้งความร้องทุกข์ เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินให้โจทก์ที่สถานีตำรวจเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2507 แล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2511 เช่นนี้ ถือว่าคดีขาดอายุความ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด