คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 96

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง: การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานมิใช่คำร้องทุกข์
คำแจ้งความที่มีถ้อยคำที่แจ้งปรากฏชัดว่าโจทก์มาขอแจ้งความกล่าวหาว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คไม่มีเงินให้ผู้แจ้ง ผู้แจ้งยังไม่ประสงค์ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงแต่มาแจ้งให้ทราบไว้เป็นหลักฐาน มิให้เช็คขาดอายุความไปเท่านั้น ข้อความตามที่โจทก์แจ้งไม่ใช่คำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์รู้ว่าจำเลยฉ้อโกงโจทก์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507แล้วไปแจ้งความร้องทุกข์ เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินให้โจทก์ที่สถานีตำรวจเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2507 แล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2511 เช่นนี้ ถือว่าคดีขาดอายุความ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอก ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์โอน
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความไม่ระบุชื่อจำเลยร่วมกระทำความผิด ทำให้ขาดอายุความฟ้อง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดจึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายประสงค์จะให้จำเลยรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7), 123
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การแจ้งความไม่ระบุชื่อจำเลยร่วมกระทำความผิด ทำให้ขาดอายุความฟ้อง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดจึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายประสงค์จะให้จำเลยรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7),123
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021-1022/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: ศาลวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้ และโจทก์รู้ตัวผู้กระทำผิด
คดีอาญา เมื่อคดีขาดอายุความศาลยกอายุความขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ความผิดฐานยักยอกและฐานเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นกระทำผิดหน้าที่ อันเป็นความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีขาดอายุความ แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องทุกข์ของเลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ และการเริ่มนับระยะเวลาการร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานยักยอก
เลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้รับมอบหมายจากกรรมการสองนายของสำนักงานฯ ให้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันสำนักงานได้ในการดำเนินงานในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอาคารสงเคราะห์ ฉะนั้นเลขานุการฯ จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3)
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ของเลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ และการเริ่มนับระยะเวลาการร้องทุกข์ในคดีอาญา
เลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้รับมอบหมายจากกรรมการสองนายของสำนักงานฯ ให้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันสำนักงานได้ในการดำเนินงานในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอาคารสงเคราะห์ ฉะนั้นเลขานุการฯ จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3)
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
of 26