พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, การไม่บังคับขายหลักทรัพย์, และความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการ โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 โดยทำสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน เมื่อมีอัตราส่วนระหว่างมูลค่าหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันทำการถัดจากวันที่มูลค่าลดลงในอัตราดังกล่าว ประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกและผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือลูกค้าโดยรวม การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ว่าหลักทรัพย์ของโจทก์ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2539 มีอัตราส่วนลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ให้โจทก์ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม โดยไม่บังคับขายหลักทรัพย์ เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าว ย่อมก่อความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับข้อหานี้จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยขณะขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นผลมาจากการผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่การเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 309 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยขณะขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นผลมาจากการผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่การเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 309 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ การฟ้องซ้ำหลังศาลจำหน่ายคดีไม่ทำให้สิทธิฟ้องเกินอายุความ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272, 326 และ 328 ต่างเป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเสียภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตามมาตรา 96 โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 แต่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เกินกว่า 3 เดือน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะเคยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดธัญบุรีภายในอายุความ แต่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลจังหวัดธัญบุรีจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ การฟ้องซ้ำหลังจำหน่ายคดีไม่ช่วยต่ออายุความ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272, 326 และ 328 ต่างเป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยทั้งห้าผู้กระทำผิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 แต่มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เกินกว่า 3 เดือน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะเคยฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดธัญบุรีภายในอายุความก็ตาม แต่ศาลดังกล่าวสั่งจำหน่ายคดีเพราะไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการบริษัทผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ การร้องทุกข์และการระบุตัวผู้กระทำผิด
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 74 มีเจตนารมณ์ให้ดำเนินคดีเพื่อลงโทษกรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลที่นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดด้วย โดยให้ถือว่าร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลเป็นตัวการด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 แต่ความเป็นนิติบุคคลของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากจำเลยที่ 2 ที่มีฐานะเป็นกรรมการ ประกอบกับความรับผิดในทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำผิด ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ระบุให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงไม่มีผลที่จะให้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ด้วย แม้ว่าในขณะที่ไปร้องทุกข์โจทก์ร่วมยังไม่รู้จักชื่อกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยที่ 2 แต่ก็มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่ระบุตำแหน่งไว้ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ภายในอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367-3368/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: เริ่มนับจากวันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
โจทก์แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์โดยไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์สอบถามจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ชี้แจงถึงเหตุที่ทางธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของลูกหนี้ที่โจทก์ค้ำประกันไว้แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือผู้ที่หักเอาเงินของโจทก์ไป โจทก์จึงไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดที่จำเลยทั้งสองกระทำการฉ้อโกงโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ส่วนเมื่อโจทก์แจ้งความแล้วพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งจะเห็นว่าไม่เป็นความผิดทางอาญาจึงบันทึกการรับแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นเพียงความเห็นของพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไปได้โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96แล้วจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เริ่มนับจากวันที่ทราบเรื่องและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจเพื่อโจทก์และในนามโจทก์ในประเทศไทย ในอันที่จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและจำกัดการเลียนแบบ การละเมิดและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับชื่อทางการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และอื่น ๆ ที่ใช้เกี่ยวกับการค้าของโจทก์ให้ป้องกันการค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจร้องทุกข์ ฟ้องร้องดำเนินคดีและต่อสู้ในนามของโจทก์ ร. จึงมีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในประเทศไทยในนามของโจทก์ได้ตามกฎหมาย ร. ได้รู้เรื่องการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีนี้แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมาโดย ส. ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิด ดังนั้น ร. ต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก เมื่อโจทก์นำคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้มาฟ้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจรู้ความผิด ถือว่าโจทก์รู้ด้วย
ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยรู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 และ 70 ประกอบมาตรา 30 และ 31 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมา ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิดเมื่อ ร. มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แทนโจทก์ เช่นเดียวกับผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ ร. ก็ดี ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ก็ดีต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรกแม้โจทก์จะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ก็ไม่ทำให้อายุความขยายออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องพ้นอายุความ
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 ได้บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว หาได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับไม่ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่เมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงดุสิตซึ่งศาลแขวงดุสิตมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การฟ้องซ้ำหลังจำหน่ายคดี ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คคือวันที่ 8 มีนาคม 2543 เมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งมีกำหนดให้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 และ 96 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 5 กันยายน 2543 โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ จึงขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายอาญาภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว มิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงดุสิตได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)
ประมวลกฎหมายอาญาภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว มิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงดุสิตได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา มาตรา 350 กรณีจำเลยโอนทรัพย์สินก่อนฟ้อง และโจทก์รู้หรือควรทราบถึงการโอน
ที่ดินแปลงที่จำเลยโอนขายให้ ด. เป็นแปลงเดียวกับที่โจทก์ขอซื้อจากจำเลยแต่จำเลยโอนให้ไม่ได้เพราะชื่อเจ้าของที่ดินยังเป็นของผู้อื่น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้ละทิ้ง หากยังติดตามที่ดินแปลงพิพาทอยู่ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไปยื่นคำขอให้ยึดทรัพย์จำเลยโดยหนังสือมอบอำนาจมีข้อความชัดเจนว่าให้ยึดบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงนี้กับทรัพย์สินภายในบ้าน ดังนั้นการที่จำเลยโอนขายบ้านให้ ด. ก่อนที่โจทก์จะดำเนินการขอยึดนั้น โจทก์ก็ควรจะรู้หรือน่าจะรู้ว่าจำเลยขายที่ดินดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่การไปขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วเกินกว่า 3 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 44 ที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้โอนสิทธิในที่ดินที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 1) ฯ ข้อ 7 และข้อ 8 เป็นกรณีอนุญาตให้มีการซื้อขายที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หาใช่ไม่อาจทำการซื้อขายโดยเด็ดขาดไม่
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 44 ที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้โอนสิทธิในที่ดินที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 1) ฯ ข้อ 7 และข้อ 8 เป็นกรณีอนุญาตให้มีการซื้อขายที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หาใช่ไม่อาจทำการซื้อขายโดยเด็ดขาดไม่