พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การละเลยการร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่1มิถุนายน2533แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่7ธันวาคม2533ซึ่งเกิน3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีบุกรุก: การเริ่มต้นความผิดและผลของการไม่แจ้งความทันที
โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืนจึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกในเวลากลางวันและความผิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยบุกรุกเข้าไปส่วนการครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362บทเดียวหาเป็นความผิดตามมาตรา365(3)อีกบทหนึ่งไม่โจทก์ร่วมร้องทุกข์วันที่7พฤษภาคม2534ทั้งที่ทราบเรื่องแล้วตั้งแต่ต้นปี2526คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลาบุกรุกและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์ แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 บทเดียว หาเป็นความผิดตามมาตรา 365 (3) อีกบทหนึ่งไม่ ซึ่งมาตรา 366 บัญญัติว่า เป็นความผิดอันยอมความได้ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความ โจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม.อ.มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลากระทำผิดและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืนจึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362บทเดียวหาเป็นความผิดตามมาตรา365(3)อีกบทหนึ่งไม่ซึ่งมาตรา366บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้อายุความฟ้องร้องตามมาตรา95ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความโจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่7พฤษภาคม2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี2526คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน ความผิด 352 ขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท. เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความแม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน คดีขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ.มาตรา 147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 147 ไม่ได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยกฟ้องข้อหาเบียดบังทรัพย์ เนื่องจากเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของแผ่นดิน และคดีขาดอายุความ
เงิน รายได้ ฌา ปน สถานที่ จำเลย เบียดบัง ไม่ได้ ส่ง กรมตำรวจ ตาม ที่ โจทก์ กล่าวหา เป็น เงิน นอก งบประมาณ ไม่ใช่ เงิน รายได้ ของ แผ่นดิน และ ความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน เบียดบัง เอาไว้ เป็น ของ ตน หรือ ของ ผู้อื่น ต้อง เป็น ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา แต่เมื่อ เงิน ที่ จำเลย ยักยอก เอาไป ใช้ ส่วนตัว ใน คดี นี้ เป็น เงิน ค่าบำรุง ที่ เจ้า ภาพ งาน ศพ มา ใช้ ฌา ปน สถาน มอบ ให้ แก่ จำเลย เพื่อ เก็บ ส่ง เป็น เงิน สวัสดิการ ต่อ กรมตำรวจ เท่านั้น มิใช่ เงิน ของ ทางราชการ หรือ ของ รัฐบาล ที่ จำเลย ผู้เป็น เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ จัดซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็น ความผิดอันยอมความได้ ซึ่ง ผู้เสียหาย จะ ต้อง ร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด แต่ ปรากฏว่า ผู้ช่วย อธิบดี กรมตำรวจ ปฏิบัติ ราชการ แทน อธิบดี กรมตำรวจ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท . เพิ่ง ได้รับ คำสั่ง จาก ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ให้ ไป ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2530 การ ร้องทุกข์ ซึ่ง จะ ต้อง ดำเนินการ ตั้งแต่ รับคำ สั่ง จึง เกิน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง และ รู้ตัว ผู้กระทำผิด แล้ว คดี จึง ขาดอายุความ แม้ จำเลย ไม่ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น พิจารณา ได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องโกงเจ้าหนี้: การโต้เถียงข้อเท็จจริงและการแก้ไขคำฟ้องเกินกำหนดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดิน พิพาทเป็นดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฎจากสารบัญ ด้านหลังน.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง, อายุความ, และดุลพินิจศาลในคดีโกงเจ้าหนี้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้