คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 96

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การร้องทุกข์ของผู้เสียหายร่วม และผลของการไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ล. เป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัทลัดสุภาอินเตอร์เทรดจำกัด เช่นเดียวกับโจทก์ ล. จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้เช่นเดียวกับโจทก์ คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อ ล. ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นอื่นมีอำนาจร้องทุกข์ ทำให้คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน3 เดือนนับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับฟังข้อเท็จจริงเรื่องยักยอกเงิน, อายุความไม่ขาด, และไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และการคำนวณอายุความในคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่15 สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกันจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง – อายุความ – วันรู้ความผิด – ฟังได้จากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยนำสืบแต่เพียงว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 แต่โจทก์ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 เมื่อนำคำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาฟังประกอบคำเบิกความพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องวันที่ 21พฤษภาคม 2533 จึงไม่เกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องที่ดินอุทิศ การฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์รู้เรื่องความผิด
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใดโดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงการอุทิศที่ดิน การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใด โดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์2533 แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์คดีฉ้อโกง - การให้เงินเพื่อประกันตัว/ค่าทนาย vs. สินบนเจ้าพนักงาน
จำเลยพูดขอเงินจากโจทก์ร่วมจำนวน 600,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันตัวบุตรของโจทก์ร่วมและจำเลยจะหาทนายความให้โจทก์ร่วมต่อรองจำนวนเงินลงเหลือ 400,000 บาท จำเลยตกลง ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เพียงว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยในการที่จะหาทนายความให้บุตรของโจทก์ร่วม และเป็นค่าใช้จ่ายในการขอปล่อยชั่วคราวบุตรของโจทก์ร่วมเท่านั้น ยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยนำเงินไปให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยจะนำสินบนไปให้เจ้าพนักงานอันเป็นการใช้ให้จำเลยกระทำผิด โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก: ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำ
โจทก์ร่วมซื้อบ้าน เลขที่ 308 จากการขายทอดตลาด จำเลยเองก็ทราบ เมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 308 ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านดังกล่าว การที่จำเลยบอกโจทก์ร่วมว่าบ้านที่จำเลยอาศัยอยู่ไม่ใช่บ้านเลขที่ 308 แต่เป็น บ้านเลขที่ 121 ของส. นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ร่วมรื้อถอนบ้านเลขที่ 308 เพื่อที่จำเลยจะได้รับประโยชน์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเบียดบังบ้านเลขที่ 308 เป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 โจทก์ร่วมจะไปรื้อถอนบ้านครั้งแรกวันที่ 28 เมษายน 2527จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์ร่วมเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2530 คดีจึงขาดอายุความ เมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมตาม มาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
หลังจากจำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ไปขายของและไม่นำดอกเบี้ยไปจ่ายให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าจำเลยหลบหนีและฉ้อโกง โจทก์จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แสดงว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดมาตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์แต่มาฟ้องคดีเกิน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงขาดอายุความ
of 26