พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: การแบ่งความคุ้มครองระหว่างประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยของจำเลยระบุความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยไว้ว่า เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 250,000 บาท ต่อคน ซึ่งเท่ากับจำเลยจะต้องรับผิดก็เมื่อความเสียหายนั้นเกินกว่าวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ โดยรับผิดในส่วนเกินนั้นไม่เกิน 250,000 บาท ต่อคน แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เกินวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยภาคบังคับ หรือเจ้าของรถ หรือผู้ทำละเมิด แล้วแต่กรณี เมื่อความเสียหายคดีนี้มีจำนวนเพียง 5,297 บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ จึงไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย ข้อตกลงของผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเช่นว่านี้เป็นการกำหนดความคุ้มครองมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการประกันภัยภาคบังคับ และเป็นการแบ่งความคุ้มครองออกเป็นคนละส่วน โดยมิได้ทำให้บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการใช้รถต้องเสียสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายแต่ประการใด ทั้งแบบกรมธรรม์ประกันภัยก็เป็นไปตามที่กรมการประกันภัยกำหนดให้ใช้บังคับ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ส่วนโจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาเงินที่ได้จ่ายไปจากผู้ใดได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ลูกจ้างมีสิทธิแม้บริษัทนายจ้างจะได้รับเงินทดแทนไปแล้ว
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 และโจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท ศ. นายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วไปขอรับคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารคันที่โจทก์ทำงานและประสบอุบัติเหตุ แต่ก็มิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้ขอรับคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปแล้ว เป็นการจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย มิใช่ทดรองจ่ายในฐานะนายจ้างตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินคืนจากจำเลยและไม่อาจสละสิทธิในเงินดังกล่าวได้ ทั้งการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามกฎหมายอื่นไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 อีกตามมาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่าจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทสำหรับความเสียหายต่อร่างกายเมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน14,413บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน10,000บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม.มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะหานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการหักชดใช้จากสัญญาประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (1) กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่า จำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 14,413 บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน 10,000 บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัท ม.มาหักมิได้ เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ หานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้