คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15972/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับประโยชน์ตามกฎหมาย ไม่ใช่สิทธิที่ตกทอดแก่ทายาท
ในการจ่ายค่าทดแทนสำหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จ่ายเป็นรายเดือนมีกำหนด 8 ปี ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 (4) นั้น ผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายกับผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนดังกล่าวจะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นก็ได้ตามมาตรา 24 แม้ บ. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 (2) ได้ขอรับค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจากจำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วเห็นควรที่จะจ่ายค่าทดแทนให้ บ. คราวเดียวได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของสิทธิที่สมควรได้รับตามแนวปฏิบัติการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 (4) คราวเดียวเต็มจำนวน การที่ บ. ยอมรับค่าทดแทนจากจำเลยส่วนแรกเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งไปก่อนจึงถือเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ บ. เกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 24 มีผลทำให้ค่าทดแทนส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งของ บ. จะถึงกำหนดจ่ายหลังจากได้รับเงินครั้งแรกไปแล้ว 4 ปี
แม้จะปรากฏต่อมาว่าสิทธิในการได้รับค่าทดแทนของ บ. ได้สิ้นสุดลงเพราะ บ. ถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายค่าทดแทนส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งก็ตาม กรณีก็ต้องนำส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งดังกล่าวของ บ. ผู้หมดสิทธิไปเฉลี่ยให้แก่ผู้มีสิทธิอื่นต่อไปตามมาตรา 21 วรรคสอง ดังนั้น สิทธิในการได้รับค่าทดแทนตามมาตรา 18 (4) จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 โจทก์ซึ่งแม้จะเป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของ บ. แต่ก็มิใช่ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 จึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนเมื่อถึงกำหนดจ่ายส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีบุตรผู้เสียชีวิตยื่นคำร้องล่าช้า และสถานะความเป็นบุตรโดยมิได้มีผลต่อสิทธิ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างคือ (3) บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบ 18 ปี แต่ยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้ได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ เป็นบทบัญญัติที่ถือเอาอายุและการศึกษาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (3) จึงต้องถือเอาความเป็นบุตรตามความเป็นจริง
มาตรา 49 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แต่ไม่ได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนระงับสิ้นไป ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน จึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ดังนั้นแม้โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ตายประสบอันตรายโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน – การทำลายมติคณะกรรมการ – การจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
โจทก์ประสงค์ฟ้องคดีเพื่อให้ศาลแรงงานภาค 6 เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนทดแทนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและให้พิพากษาว่าการประสบอันตรายของ พ. บุตรโจทก์เกิดจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันเป็นการฟ้องเพื่อทำลายมติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกผู้พิจารณาในชั้นต้น สำนักงานประกันสังคมและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนต่างเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกคำสั่งและคำวินิจฉัย การที่โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกเป็นการฟ้องผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ออกคำสั่งหรือคำวินิจฉัยปัญหาพิพาทตามกฎหมายเพื่อทำลายคำสั่งและคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกเป็นจำเลยได้
โจทก์ฟ้องคดีด้วยวาจา ศาลแรงงานภาค 6 บันทึกรายการแห่งข้อหาตามแบบคำฟ้องคดีแรงาน (รง.1) โดยคำขอท้ายคำฟ้องระบุขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ว่า พ. ถึงแก่ความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้าง ไม่เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 5 และขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าทดแทนกรณี พ. ถึงแก่ความตายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 5 ปี เมื่อสิทธิการได้รับค่าทดแทนของโจทก์ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้จ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์โดยการจ่ายเงินให้จำเลยปฏิบัติตาม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสี่ (เกินไปจากคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: โจทก์มีสิทธิวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของ ศ. ลูกจ้างและก่อนถึงแก่ความตาย ศ. ไม่ได้เลี้ยงดูโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตของ ศ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ซึ่งจำเลยก็วินิจฉัยเฉพาะในปัญหานี้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในชั้นพิจารณาของจำเลยจึงไม่มีปัญหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศ. มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของจำเลยและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. หรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจ่ายเงินทดแทนเมื่อถอนฟ้อง: ศาลไม่มีอำนาจจ่ายเงินให้ลูกจ้าง ต้องคืนให้ผู้วางเงิน
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 53 วรรคสามศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายให้แก่ ช. ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจ่ายเงินวางศาลคืนให้ผู้ฟ้อง เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากถอนฟ้อง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 วรรคสาม ศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น แต่กรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงาน ฯ เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน มิใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ตายเช่าซื้อเป็นกรณีที่ผู้ใช้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดอุปการะจากผู้ตายกับสิทธิรับเงินทดแทน: กรณีผู้ค้ำประกันรถยนต์
ผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ก่อนตาย ผู้ตายเช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ใช้สอยประกอบอาชีพและให้โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อเมื่อถึงแก่ความตายทำให้ผู้ตายไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อการที่โจทก์ต้องหาเงินไปชำระค่าเช่าซื้อ เป็นการปฏิบัติในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน ไม่ใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามจากผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อดังกล่าว ดังนั้น แม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย และได้รับความเดือดร้อนจากการที่ถูกผู้ให้เช่าซื้อทวงถามจริง ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะโจทก์ถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีผู้ค้ำประกันถูกทวงหนี้หลังผู้ตายประสบอันตราย ไม่ถือเป็นการขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามจากผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อดังกล่าวดังนั้นแม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายและได้รับความเดือนร้อนจากการที่ถูกผู้ให้เช่าซื้อทวงถามจริงก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะโจทก์ถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา20วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน