คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7843/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเลิกจ้าง: การลาออกโดยไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ แต่โจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองและการลาออกของโจทก์เป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างเพราะไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาในการเลิกสัญญาจ้างกัน หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ และการที่โจทก์ลาออกมีผลในวันนั้นเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถหาครูมาสอนนักเรียนแทนโจทก์ได้ทัน จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีอาญาและแรงงานมีประเด็นต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนเชื่อมโยง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ได้ครอบครองดูแลรักษาสินค้าประเภทเครื่องสำอางของผู้เสียหาย (จำเลยคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาสินค้าดังกล่าวไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้วจำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่า โจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลยตามระเบียบ แต่โจทก์ไม่นำสินค้าส่งคืนให้แก่จำเลยโดยไปมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่รู้จัก จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน โดยโจทก์ไม่ส่งคืนสินค้าแก่จำเลยตามหน้าที่ และขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่จำเลย เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย และแม้ศาลแขวงพระนครใต้จะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ศาลก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้โจทก์ เท่ากับฟังว่าการกระทำของโจทก์ที่ส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นที่โจทก์ไม่รู้จักนั้นยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอก โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายหรือไม่การที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, สิทธิของผู้ให้เช่าและผู้เช่า, คำมั่นสัญญาหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด, การละเมิดสัญญา, ค่าเสียหาย
ต. ให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทมีกำหนด 30 ปี และจะให้จำเลยที่ 1 เช่าต่อไปอีก 30 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงถ้าจำเลยที่ 1 ต้องการ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ ต. กู้ยืมเงิน 300,000 บาท เพื่อนำไปซื้อที่ดินพิพาท การกู้ยืมเงิน ต. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังไม่เรียกให้ ต. ชำระดอกเบี้ยนับแต่กู้ยืมเงินแต่ให้ชำระเมื่อครบกำหนดการเช่า 30 ปี ถ้ามีการต่ออายุสัญญาเช่าเป็นงวดที่สองอีก 30 ปี จำเลยที่ 1 จะไม่เรียกร้องดอกเบี้ยดังกล่าว ดังนี้ การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่มีสภาพบังคับโดยสมบูรณ์ในตัวของแต่ละสัญญา สัญญาทั้งสองประเภทแม้จะผูกโยงสิทธิประโยชน์ต่อกัน แต่โดยผลแห่งสัญญาแล้ว แต่ละฝ่ายได้ป้องกันสิทธิอันจะก่อผลได้เสียภายหน้าของแต่ละสัญญาแล้ว ถ้าหากมี หาใช่ข้อตกลงที่เพิ่มภาระแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าตามปกติ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ข้อความตามข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงคำมั่นของ ต. ว่าจะให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทต่อไปเท่านั้น ยังไม่ก่อให้เกิดสัญญา แม้สัญญาเช่าเดิมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ แต่คำมั่นนี้ก็ยังไม่มีผลผูกพัน ต. เพราะยังไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้สนองรับก่อน ต. ถึงแก่ความตาย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รู้อยู่แล้วว่า ต. ถึงแก่ความตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนด 30 ปี กรณีก็ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติว่ามิให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ คำมั่นของ ต. ย่อมไม่มีผลบังคับ และไม่เป็นมรดกของ ต. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เช่าให้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จำเลยที่ 1 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนต่ออายุการเช่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 อีก 30 ปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระราคา จำเลยฟ้องแย้งว่าก่อนหน้านั้นจำเลยได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่โจทก์ส่งมาจำหน่ายให้แก่จำเลยและตกลงให้ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้าแก่จำเลยเป็นรายชิ้น เมื่อคิดหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์ ยังคงเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ ขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย ดังนี้หนี้ทั้งสองรายที่โจทก์และจำเลยกล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินและทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าถึงกำหนดชำระแล้ว หากฟังได้ว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริง จำเลยย่อมใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้เนื่องจากหนี้นั้นมีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากการซื้อขายสินค้า: ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมและรวมพิจารณาได้
หนี้ทั้งสองรายที่โจทก์และจำเลยกล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์อันเป็นหนี้เงินและทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าถึงกำหนดชำระแล้ว ซึ่งหากโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริงจำเลยย่อมอาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เนื่องจากหนี้นั้นมีวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการฟ้องแย้งให้ซื้อที่ดินส่วนที่รุกล้ำ ศาลไม่รับฟ้องแย้งเนื่องจากไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ตลอดแนวที่ดิน จำเลยให้การในตอนแรกปฏิเสธว่า จำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังคงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1312 ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการรับมรดกและการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม ห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองมรดกที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว ทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทรวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ดังนี้ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวเช่นกัน ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม สามารถพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า มิได้ปิดบังพินัยกรรมโจทก์และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยได้ที่ดินพิพาท และจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อฟ้องแย้ง, การรับสิทธิทางภารจำยอมจากการซื้อขาย, และประเด็นทางจำเป็นที่ไม่ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ทั้งห้าในอัตราปีละ 20,000บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับ ค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย20,000 บาท กับค่าขึ้นศาลอนาคต คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสอง พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์กระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์ทั้งห้าและไม่แจ้งให้ศาลทราบสาเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้งอันเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 41