คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลทำให้สัญญากู้ยืมเป็นโมฆะ และฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยทำสัญญากู้ยืมกับโจทก์โดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย แท้จริงแล้วโจทก์ไม่ใช้ผู้แทนเจ้าหนี้ดังกล่าว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวแก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพันเพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์มิได้และต้องคืนเช็คให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
จำเลยให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยแต่แท้จริงแล้วโจทก์ไม่ใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพันคู่ความ เพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากความจริงเป็นดังที่จำเลยต่อสู้โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ได้ และต้องคืนเช็คทั้ง 4 ฉบับให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์คืนเช็ค 4 ฉบับแก่จำเลย จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5224/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม รับรองให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ แต่มีเงื่อนไขว่าหากฟ้องแย้งเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก็ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จำเลยอาศัยเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้เงินกู้และบังคับจำนองเป็นข้ออ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย มูลกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นเรื่องที่โจทก์หาเหตุแกล้งฟ้องร้องจำเลยโดยไม่มีมูลอันเป็นเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่โจทก์ขอให้บังคับให้จำเลยรับผิดตามเนื้อความในสัญญา จำเลยชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก ไม่อาจขอรวมมาในคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยให้การว่าไม่ได้ผิดสัญญาคดีมีประเด็นเพียงว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าตึกแถวให้แก่ พ. โดยไม่ให้สิทธิแก่จำเลยซื้อก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่าขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวและบังคับให้โจทก์ขายแก่จำเลย จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก และมีผลกระทบไปถึงสิทธิของบุคคลภายนอกจึงไม่อาจพิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส, สินส่วนตัว, การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน, และการชำระหนี้ร่วมกัน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส
โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว
รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม
เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่าเงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งจำหน่ายฟ้องแย้ง แม้จำหน่ายคดีเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้อำนาจจำเลยที่จะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และอำนาจในการฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวนำมาใช้ในคดีแรงงานด้วยโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อปรากฏว่าจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์คงมีผลทำให้ไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่จำเป็นเมื่อสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม ศาลล่างพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินค้ำประกัน จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารในช่องผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หากไม่คืนก็ขอให้มีคำสั่งให้ทำลายเสียตามคำให้การที่ต่อสู้ว่าสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้แล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง สัญญาค้ำประกันย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 เมื่อโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาค้ำประกันมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องแย้งขอให้บังคับคืนหรือทำลายหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก ศาลจึงไม่รับฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องผิดสัญญา แม้มีการโอนสิทธิและหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ง. ได้ทำสัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าวโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแก่บริษัท ง. เมื่อโจทก์รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ง. จึงฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ทั้งหมด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่ได้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนอง และฟ้องแย้งว่า บริษัท ง. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณ 3,000,000 หุ้น มูลค่ากว่า 100,000,000 บาท ซึ่งจำเลยจำนำไว้เป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณ 60,000,000 บาท ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ง. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิและหน้าที่มาจากบริษัท ง. แต่ฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องฉ้อฉลขายหุ้นไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลไม่รับรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ร. จำเลยได้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าว โดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน โจทก์ได้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ร. มาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้สินทั้งหมด จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า บริษัท ร. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณสามล้านหุ้น มูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งจำนำเป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณหกสิบล้านบาท แต่จำเลยขอเรียกค่าเสียหายเพียงสองล้านบาท จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นเงินสองล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยและให้ไถ่ถอนที่ดินจำนองคืนจำเลยด้วย ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ร. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลยซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงลดหนี้ ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยฐานผิดสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสัญญาและประเพณีที่ธนาคารยึดถือปฏิบัติต่อลูกค้า โจทก์ตกลงจะลดยอดหนี้ลงให้ถูกต้อง ถ้าหากจำเลยขายที่ดินบางส่วนมาชำระหนี้ ทำให้จำเลยต้องขายที่ดินในราคาต่ำกว่าในท้องตลาด จำเลยต้องเสียหายสูญเสียโอกาสและราคาที่ดินที่ควรจะได้รับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายประมาณ 4,000,000 บาท เมื่อหักกับยอดหนี้ที่ถูกต้องประมาณ 3,600,000 บาท โจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย 400,000 บาท ขอบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย 400,000บาท แก่จำเลย พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นอกเหนือจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้
of 41