คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าบำเหน็จตัวแทน: เกี่ยวเนื่องกับหนี้เดิม พิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาซื้อขายนมกล่อง ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ จำเลยให้การและ ฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นตัวแทนค้าต่างของโจทก์ จำเลยได้รับสินค้าและได้นำไปส่งมอบให้แก่ผู้สั่งซื้อแล้ว ชอบที่จะได้ ค่าบำเหน็จจากโจทก์ ตามคำฟ้องและฟ้องแย้งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำสัญญาว่าทำกันด้วยเรื่องอะไร ผลของสัญญาจะเป็นเช่นใด ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าอีกฝ่ายต้องรับผิดตามสัญญาเกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกัน จำเลยย่อมฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินค่าบำเหน็จได้ เพราะเป็นเงินที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องทีเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าบำเหน็จตัวแทนค้าต่างเกี่ยวข้องกับหนี้ซื้อขาย ศาลต้องรับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้านมกล่อง และรับสินค้าจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้วเป็นเงิน 1,082,105.40 บาท แต่จำเลยไม่ชำระเงินค่าสินค้าขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นตัวแทนค้าต่างของโจทก์ จำเลยได้รับสินค้าและได้นำไปส่งมอบให้แก่ผู้สั่งซื้อแล้วชอบที่จะได้ค่าบำเหน็จในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าบำเหน็จจำนวน 674,325.79 บาท แก่จำเลย ตามคำฟ้องและฟ้องแย้งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำว่าสัญญาทำกันด้วยเป็นเรื่องอะไรผลของสัญญาจะเป็นเช่นใด ซึ่งต่างอ้างว่าอีกฝ่ายต้องรับผิดตามสัญญาเกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกัน จำเลยย่อมฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินได้เพราะเป็นเงินที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ได้เสนอข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อธานี โดยมีข้อสัญญาว่า หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ คู่สัญญาจะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากยังไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ หากคู่สัญญาฝ่ายใดฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มี คำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้ และข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการนี้ย่อมผูกพันโจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญา นั้นด้วยตามมาตรา 8
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อโต้แย้งเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดก่อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การโต้แย้งว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน ถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งในวันชี้สองสถานศาลก็ได้ สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ อันถือได้ว่า เป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีตกลงกันได้ ย่อมทำให้ข้อพิพาทหมดสิ้นไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้และไม่ตกลงกับโจทก์ย่อมเป็นกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งโจทก์ จะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องคดี จำเลยก็ให้การยืนยันให้ใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ส่วนที่จำเลย ฟ้องแย้งก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ทำให้เกิดความจำเป็นที่ หากจำเลยจะฟ้องแย้งก็ต้องยื่นเข้ามาในคำให้การ เพื่อรักษาสิทธิของจำเลยเสียก่อนเท่านั้นเพราะขณะยื่นคำให้การและฟ้องแย้งยังไม่แน่ว่า ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละเงื่อนไข ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญา ที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลจึงต้องมีคำสั่ง จำหน่ายคดี ซึ่งย่อมมีผลให้ไม่มีคดีตามคำฟ้องของโจทก์ให้ต้อง พิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของมรดกเหนือที่ดิน
คำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านระบุในช่องคู่ความว่า อ. และ ป. ผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้คัดค้าน และบรรยายว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านไม่ประสงค์ให้ผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ขอให้บังคับผู้ร้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดิน การฟ้องแย้งของผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยได้แสดงชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับจากมีโฉนด และการฟ้องขับไล่เมื่อไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
เดิมที่ดินพิพาทยังมิได้ออกโฉนดที่ดิน แม้ว่าบิดามารดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองก็ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินเท่านั้น ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดิน
ทางราชการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเมื่อปี 2508 โดยม.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ หลังจากปี 2508 ช.และผู้ร้องก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันโดยอาศัยสิทธิของ ม. แม้เมื่อปี 2515 ผู้ร้องจะได้ปลูกบ้านขึ้นใหม่เลขที่ 17/1 แทนบ้านเดิมบนที่ดินพิพาทและอยู่ต่อมาโดย ม.มิได้ว่ากล่าว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอาศัยสิทธิของ ม.ครั้นปี 2523 ม. ขายที่ดินโฉนดที่พิพาทให้แก่บริษัท ส. ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแม้จะปรากฏว่าในปี 2524 ม.ได้รื้อบ้านของตนออกจากที่ดินพิพาทไปปลูกบ้านขึ้นใหม่และมารดาผู้ร้องได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ด้วย ส่วนผู้ร้องยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาประมาณ 15 ปี ก็ฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทเพราะ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ อ. ผู้ซื้อแล้ว อ. ฝากให้ ม. ช่วยดูแล ม.จึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาอยู่อาศัย จึงต้องถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนบริษัท ส. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาช้านานเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจำเลย จึงย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านระบุว่า ผู้ร้องไม่ได้เข้าทำประโยชน์ใด ๆ ในที่ดิน เพียงแต่พักอาศัยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ม. และบ้านดังกล่าวมีบริเวณเพียง 100 ตารางวา เห็นได้ว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเฉพาะบริเวณบ้านที่ผู้ร้องอยู่อาศัย แต่คัดค้านที่ดินส่วนที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ว่าผู้ร้องมิได้ใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา โดยไม่มีสิทธิย่อมทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องชดใช้แก่ผู้คัดค้านเดือนละ 10,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องแย้งในคดีมรดก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2 ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจาณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งยังดำเนินได้แม้ถอนฟ้องเดิม
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่ตกไปแม้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม แม้ทรัพย์สินจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่หากเหตุแห่งการฟ้องต่างกัน ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
แม้ทรัพย์ที่พิพาทกันทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยอาศัยมูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ปฏิบัติตามฟ้องและฟ้องแย้งต่างกัน กล่าวคือโจทก์อาศัยเหตุจากการที่เจ้าของที่ดินเดิมปลูกสร้างกันสาดและพื้นคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยโดยสุจริตและจำเลยขัดขวางการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนทรัพย์สินและจดทะเบียนภารจำยอม ส่วนจำเลยอาศัยเหตุจากการที่โจทก์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยโดยตรง ขอให้รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ประเด็นในคดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งต่างกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เหตุต่างกรรมต่างวาระ
แม้ทรัพย์ที่พิพาทกันทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยอาศัยมูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ปฏิบัติตามฟ้องและฟ้องแย้งต่างกัน กล่าวคือโจทก์อาศัยเหตุจากการที่เจ้าของที่ดินเดิมปลูกสร้างกันสาดและพื้นคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยโดยสุจริตและจำเลยขัดขวางการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนทรัพย์สินและจดทะเบียนภาระจำยอม ส่วนจำเลยอาศัยเหตุจากการที่โจทก์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยโดยตรง ขอให้รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ประเด็นในคดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งต่างกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมของโจทก์
of 41