พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13385/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
แม้การที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น นอกจากจำเลยจะให้การต่อสู้คดีแล้ว จำเลยยังมีสิทธิฟ้องโจทก์ในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาในคดีเดียวกันได้ด้วยก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเอกสารปลอม บันทึกตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าที่กำหนดในสัญญาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยและไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือเข้าลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ถ้าหากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นข้อต่อสู้มา ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่จำเลย อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีก กรณีถือว่าเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8242/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: อำนาจช่วงที่เกินขอบเขตหนังสือมอบอำนาจทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจของ ก. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และเมื่อ ธ. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ จ. ฟ้องคดีแล้ว ย่อมเป็นการอยู่ในขอบเขตตามหนังสือมอบอำนาจของ ก. แต่ส่วนที่ จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจะมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปในการฟ้องคดีนี้อีกต่อหนึ่งย่อมอยู่นอกเขตแห่งหนังสือมอบอำนาจของ ก. ดังนั้น ส. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก จ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี และเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ย่อมไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ ๒ จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ ๒ จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อกล่าวหาของจำเลย และการชำระหนี้เป็นเงินไทยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ อันเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องกลับโจทก์ได้ในคดีเดียวกัน กรณีดังกล่าวจึงต้องมีส่วนคำให้การแก้ข้อกล่าวหาของจำเลยเป็นเบื้องต้น กับส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ ซึ่งเมื่อจำเลยขอถอนฟ้องแย้งโดยมิได้ขอถอนคำให้การด้วย ก็มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งเท่านั้น มิได้ทำให้คำให้การของจำเลยสิ้นไปด้วยแต่อย่างใด
โจทก์อ้างว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์รวม 16 ครั้ง ตามตารางคำนวณยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้อง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ ทั้งยังให้การด้วยว่าโจทก์ส่งสินค้าให้แก่จำเลยเป็นเงิน 148,780.98 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่า จำเลยยอมรับข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ และคดีไม่มีประเด็นพิพาทในเรื่องนี้ที่โจทก์จะต้องนำสืบแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ส่วนนี้รับฟังได้ตามฟ้อง โดยที่ไม่จำต้องนำใบแจ้งหนี้มารับฟังเป็นพยานหลักฐาน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมิได้มีคำขอบังคับให้ชำระเป็นเงินไทยด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันฟ้องก็เพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะชำระหนี้เป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ใช้เงินและเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันครบกำหนดชำระเงินแต่ละจำนวน จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีคำขอและเป็นกรณีพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์อ้างว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์รวม 16 ครั้ง ตามตารางคำนวณยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้อง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ ทั้งยังให้การด้วยว่าโจทก์ส่งสินค้าให้แก่จำเลยเป็นเงิน 148,780.98 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่า จำเลยยอมรับข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ และคดีไม่มีประเด็นพิพาทในเรื่องนี้ที่โจทก์จะต้องนำสืบแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ส่วนนี้รับฟังได้ตามฟ้อง โดยที่ไม่จำต้องนำใบแจ้งหนี้มารับฟังเป็นพยานหลักฐาน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมิได้มีคำขอบังคับให้ชำระเป็นเงินไทยด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันฟ้องก็เพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะชำระหนี้เป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ใช้เงินและเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันครบกำหนดชำระเงินแต่ละจำนวน จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีคำขอและเป็นกรณีพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน & การหักกลบลบหนี้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้รับเหมา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท แต่รับโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาจากจำเลยร่วมโดยไม่สุจริต เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทกับจำเลยร่วมอยู่ในฐานะจดทะเบียนโอนได้ก่อน การทำนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมเป็นการฉ้อฉลทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและให้จำเลยร่วมโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองนั้น จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยอ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยร่วมอยู่ก่อน แต่โจทก์กับจำเลยร่วมร่วมกันฉ้อฉลทำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย จึงมีเหตุสมควรที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) และถือว่าจำเลยร่วมเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ จำเลยร่วมจึงเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยทั้งสองสามารถฟ้องแย้งและถูกบังคับคดีได้ หาใช่จำเลยร่วมเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลยทั้งสองและไม่อาจถูกฟ้องแย้งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้บริโภค: การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีผู้บริโภคชอบด้วยกฎหมายและผลของการผิดสัญญา
การแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีหน้าที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคก็เท่ากับว่าผู้บริโภคได้ร้องขอให้คณะกรรมการดำเนินคดีแทนตน โดยผู้บริโภคมีผลประโยชน์ในมูลความแห่งคดี และหากผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่ผู้บริโภค มิได้ชำระให้แก่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคแต่อย่างใด ดังนั้น การที่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ย่อมต้องถือว่าผู้บริโภคนั้นเป็นโจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องเอง ส่วนผู้ประกอบการซึ่งถูกฟ้องมีฐานะเป็นจำเลย และทั้งโจทก์และจำเลยย่อมมีฐานะเป็น "คู่ความ" ตามวิเคราะห์ศัพท์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ดังนี้จำเลยผู้ถูกฟ้องย่อมฟ้องแย้งได้ และเมื่อฟ้องแย้งว่า จำเลยพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งให้ผู้บริโภคเข้าครอบครองอยู่อาศัยมาโดยตลอด ขอให้ผู้บริโภคชำระราคาส่วนที่เหลือจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอจะรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11043/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ฟ้องแย้งไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความค่าเสียหายที่เกิดแก่รถบรรทุกของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในส่วนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วมีการยื่นฟ้องอุทธรณ์ โดยระบุชื่อผู้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ระบุชื่อ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้อุทธรณ์ แต่เมื่อพิเคราะห์อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวทั้งฉบับ จะใช้คำว่า จำเลย โดยมิได้ใช้คำว่า จำเลยที่ 1 และเนื้อหาก็เป็นการโต้แย้งประเด็นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความ และประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเท่านั้นมิได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ทั้งอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว ทนายจำเลยทั้งสองก็เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มาครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่า อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มิใช่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างนำพยานเข้าสืบในประเด็นข้อนี้จนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาของกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเสียก่อน
โจทก์มิได้ยกเหตุว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของพนักงานโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าฟ้องแย้งขาดอายุความซึ่งไม่ถูกต้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์มิได้ยกเหตุว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของพนักงานโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าฟ้องแย้งขาดอายุความซึ่งไม่ถูกต้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387-8391/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ผลคือฟ้องแย้งตกไป
หนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำนวนแรก ระบุข้อความไว้ว่าโจทก์ โดย อ. หุ้นส่วนผู้จัดการ ขอมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย ในการนี้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนทนายความ รวมทั้ง...การรับเงินหรือเอกสารจากคู่ความหรือศาล และการดำเนินการในชั้นบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินหรืออื่นๆ ได้จนเสร็จการ การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบเขตแห่งหนังสือฉบับนี้ให้มีผลผูกพันโจทก์เสมือนกับโจทก์ได้ทำด้วยตนเองทุกประการ ส่วนหนังสือมอบอำนาจที่ให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนที่สอง จำเลยที่ 1 และที่ 4 ในสำนวนที่สาม จำเลยที่ 1 และที่ 5 ในสำนวนที่สี่ จำเลยที่ 1 และที่ 6 ในสำนวนที่ห้า ข้อความที่ว่าให้มีอำนาจฟ้องรวมถึงผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย รวมทั้งข้อความอื่นคงเป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ดังนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์ในแต่ละสำนวนคดีเป็นการมอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องร้องดำเนินคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยที่ 1 โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 10 บาท หนังสือมอบอำนาจจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ธ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งห้าสำนวนคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยรวมไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา และต้องฟังว่า ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ด้วยเหตุผลเดียวกัน การที่ ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ผลจึงเท่ากับว่าไม่มีตัวโจทก์เข้ามาฟ้องคดี กรณีเช่นนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมตกไป เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาตามฟ้องแย้งนั้นจะต้องมีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยตามฟ้องแย้งอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387-8391/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีตก
หนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำนวนแรกระบุข้อความไว้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. (โจทก์) โดย อ. หุ้นส่วนผู้จัดการ ขอมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้อง ง. (จำเลยที่ 1) รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย ในการนี้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนทนายความ รวมทั้ง... การรับเงินหรือเอกสารจากคู่ความหรือศาล และการดำเนินการในชั้นบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินหรืออื่น ๆ ได้จนเสร็จการ การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบเขตแห่งหนังสือฉบับนี้ ให้มีผลผูกพันโจทก์เสมือนกับโจทก์ได้ทำด้วยตนเองทุกประการ ส่วนหนังสือมอบอำนาจที่ให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนที่สอง จำเลยที่ 1 และที่ 4 ในสำนวนที่สาม จำเลยที่ 1 และที่ 5 ในสำนวนที่สี่ จำเลยที่ 1 และที่ 6 ในสำนวนที่ห้านั้น ข้อความที่ว่าให้มีอำนาจฟ้องรวมถึงผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย รวมทั้งข้อความอื่นคงเป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ดังนี้ การมอบอำนาจของโจทก์ในแต่ละสำนวนคดีเป็นการมอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องร้องคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่มีข้อความจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท เมื่อตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ธ. ทำการฟ้องคดีแพ่งและคดีอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์ในเอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ธ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งห้าสำนวน แทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยรวมไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา และต้องฟังว่า ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ด้วยเหตุผลเดียวกัน การที่ ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ผลจึงเท่ากับว่าไม่มีตัวโจทก์เข้ามาฟ้องคดี กรณีเช่นนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมตกไป เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาตามฟ้องแย้งนั้นจะต้องมีตัวโจทก์เดิมที่เป็นจำเลยตามฟ้องแย้งอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความล่าช้าในการส่งเอกสารบัญชี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ส่งมอบงบการเงินกับเอกสารทางบัญชีอื่น สำหรับรอง 6 เดือนแรกของปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของจำเลยให้ ท. หรือ ช. รองกรรมการผู้จัดการของจำเลยภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และส่งมอบให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของ บริษัท ด. ในวันที่ 4, 5, 6 ธันวาคม 2551 โจทก์ทราบคำสั่งแล้วแต่เพิกเฉย อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจงใจให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าจ้างที่บริษัท ด. ต้องเข้ามาตรวจสอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 และค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับบัญชีให้แก่ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าเช่าไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องคดีภาษี ศาลไม่รับพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีตามกฎหมายสำหรับโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2541 ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าจากโจทก์ตามมูลหนี้สัญญาเช่าอาคารพิพาทซึ่งการที่โจทก์ผู้เช่าจะผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่โจทก์ฟ้อง และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งจึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้