คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม จึงไม่รวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำไปฟ้องเป็นต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการเปลี่ยนแปลงฐานะโจทก์จำเลยหลังโจทก์ไม่มาศาล
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไป ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ จึงเท่ากับว่าไม่มีฟ้องเดิมของโจทก์อยู่ในศาลแล้ว คงเหลือเฉพาะฟ้องแย้งของจำเลยเท่านั้น และฐานะของจำเลยเท่ากับเป็นโจทก์ และโจทก์เท่ากับเป็นจำเลย แม้เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยโดยเปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเข้ามา ในคำให้การของโจทก์ส่วนที่ว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเพราะเป็นคำขอที่แตกต่างคนละเรื่องกันขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยเสียนั้น ไม่มีฟ้องเดิมอีกต่อไปแล้ว คำให้การของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เกิดเป็นประเด็นว่าฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดประเด็นนี้ไว้ ไม่พิจารณาในเรื่องฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ แต่กลับพิจารณาในประเด็นอื่นอันเป็นเนื้อหาสาระคดีคือ โจทก์ค้างจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยอยู่จริงหรือไม่ จำนวนเท่าใด ต้องจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้น เป็นการถูกต้องด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์นำความอันเป็นเท็จมาฟ้องทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยอันเป็นเรื่องละเมิด สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องและฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่อง คนละเหตุ ไม่เกี่ยวข้องกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7606/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม จึงจะรวมพิจารณาได้ หากเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก ศาลจะไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องเดิมของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัท ว. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อจำเลยทั้งสามตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัท ว. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 อ้างว่าบริษัท ว. ได้ตกลงร่วมลงทุนให้การสนับสนุนโครงการของจำเลยที่ 1 โดยปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 275,000,000 บาท ตกลงให้จำเลยที่ 1 รับเงินสินเชื่อเป็นคราว ๆ แล้วบริษัท ว. ผิดข้อตกลงมิได้จ่ายสินเชื่อเงินลงทุน 30,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จและส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินให้ลูกค้าได้ ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์และบริษัท ว. ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 กรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์และข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์โดยตรง เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องไปว่ากล่าวแก่บริษัท ว. ต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5578/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดสอบเขตเพื่อแก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินของจำเลยให้ถูกต้องแต่โจทก์ไปคัดค้าน จึงขอให้บังคับโจทก์ยินยอมรับการสอบเขตที่ดินของจำเลย เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลย มูลคดีที่จำเลยฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทตามประเด็นในคำฟ้องเดิมของโจทก์ซึ่งเป็นเรื่องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกที่ดินของโจทก์ไม่อาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาประทาย แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยให้ตรงกับความจริงเป็นฟ้องแย้งที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาประทายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลจะรับฟ้องแย้งในส่วนนี้ของจำเลยไว้พิจารณาไม่ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสแม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล เมื่อโจทก์ฟ้องก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่า โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอให้แบ่งสินสมรส จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้น ประกอบกับโจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4 (1) และมาตรา 4 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการบอกล้างนิติกรรม สภาพไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่รวมพิจารณาได้
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีเหตุบอกล้างการให้โดยเสน่หาและให้ถอนอายัด ขอให้ศาลยกฟ้องส่วนฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่จำเลยขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสิ่งปลูกสร้างและค่าความเสียหายเดือดร้อนต่าง ๆ ที่จำเลยได้รับเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถ้าศาลให้เพิกถอนคืนการให้โดยเสน่หา ฟ้องแย้งที่เรียกค่าสิ่งปลูกสร้างและค่าเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม มาตรา 179 วรรคท้าย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และต้องแสดงการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและแสดงสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ไม่ใช่สิทธิของผู้อื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การบรรยายฟ้องแย้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยอย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์จึงต้องจดทะเบียนให้เด็กชาย ก. ทายาทของจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น คงมีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบ
of 41