คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีฟ้องแย้ง ศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวได้ และการห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและได้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วยเมื่อโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย หาใช่ต้องจำหน่ายคดีสำหรับฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง-อายุความ-ตัวแทน: กรณีฟ้องซ้ำคดีเดิม & ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องตัวแทน
ศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยื่นฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุด ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเช่นกัน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 เพราะไม่ทำให้ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ขาดอำนาจฟ้อง: การถอนฟ้องไม่สมบูรณ์หากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
การถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการรื้อถอนอาคาร ถือเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนอาคารที่จำเลยได้ก่อสร้างบนที่ดินตามฟ้องจากโจทก์เป็นฟ้องแย้งที่ขึ้นอยู่กับข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การ จำเลยก็ไม่ต้องรื้อถอนอาคารออกไป ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่เกิดขึ้น และศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ หากข้อต่อสู้ตามคำให้การฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกไป เมื่อนั้นค่าเสียหายที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจจะเกิดมีขึ้นได้ข้ออ้างตามฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฟังผลของคดีเป็นสำคัญมิได้มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508-7528/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุดิบซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่โจทก์ไม่ได้ทำงานด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่มีงานให้โจทก์ทำและค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ คำฟ้องเดิมจึงเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 วรรคสาม อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 กรณีโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ศาลต้องรับพิจารณาหากเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินมีโฉนดของโจทก์โดยมีเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ และจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อสอบเขตที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองบุกรุกดังกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองกับบริวารและรื้อสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายของทั้งหมดออกไป จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุก จำเลยที่ 1 กับสามีได้ซื้อที่ดินมีโฉนด แล้วได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ที่ดินที่ซื้อมานั้นรวมทั้งที่ดินพิพาท โดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 ซื้อมา จำเลยที่ 1 กับสามีได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้คำให้การของจำเลยทั้งสองในตอนแรกจะปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองให้การในตอนต่อมาว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมากับที่ดินที่ซื้อมา เข้าใจว่าเป็นที่ดินที่ซื้อมาจากบุคคลอื่น ซึ่งเป็นคำให้การที่จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของบุคคลอื่น เมื่อคำให้การของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 อ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งนี้เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ฟ้องขับไล่โดยไม่มีสิทธิ ไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารหอพัก โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ต่อไป ให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ออกไปจากที่ดินและหอพัก พร้อมกับให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟ้องแย้งว่าโจทก์ฟ้องโดยรู้อยู่ว่าไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการกล่าวอ้างในการใช้สิทธิทางศาลเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยการฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อศาลโดยไม่สุจริต ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม และเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้าง ขอให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง: ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อเรียกร้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้างจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
of 41