พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13577/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: สัญญาเลือกสถานที่ฟ้องคดีต่างประเทศ ไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีในไทย หากมูลคดีเกิดในไทย
แม้ตามสัญญาจ้างตกลงเรื่องการใช้สิทธิทางศาลว่า หากเกิดข้อพิพาทขึ้นจะต้องฟ้องต่อศาลในประเทศกาตาร์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินจำนวนต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการที่จำเลยถูกเลิกจ้างโดยไม่ชอบ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่สำนักงานของจำเลย แม้จะให้โจทก์ไปทำงานบนเครื่องบินของจำเลยซึ่งมีเส้นทางการบินทั้งในและต่างประเทศ ก็ย่อมถือได้ว่าสำนักงานของจำเลยอันเป็นสถานที่สำคัญจ้างซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานของจำเลยตั้งอยู่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 33 หาจำต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศกาตาร์แต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงาน: สถานที่ทำงานเป็นที่เกิดมูลคดี แม้มีสถานที่ทำงานหลายแห่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานโดยมีสถานที่ทำงาน 2 แห่ง คือกรุงเทพมหานครและนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) จังหวัดระยอง จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน 2 แห่ง และศาลแรงงานภาค 2 ก็ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยและโจทก์จนเสร็จ ทนายจำเลยเพิ่งแถลงคัดค้านเรื่องเขตอำนาจศาล ดังนั้น จังหวัดระยองที่โจทก์ทำงานอยู่ด้วยจึงเป็นสถานที่มูลคดีเกิดเช่นกัน ศาลแรงงานภาค 2 มีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานต่างชาติมีผลผูกพัน โจทก์ต้องดำเนินการอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องศาล
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกันจดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ให้สัญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของคู่สัญญา และสัญญาจ้างแรงงานข้อ 20 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา และให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งและข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายไทย และกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587-5599/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่ง รมต.แรงงาน มอบข้อพิพาทให้ กสร. ไม่กระทบอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องเลิกจ้าง
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่สั่งตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้ลูกจ้างของผู้ร้องที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน ให้ผู้ร้องซึ่งสั่งปิดงานให้เปิดงานและรับลูกจ้างของผู้ร้องทั้งหมดกลับเข้าทำงาน และมอบให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างของผู้ร้องที่ยื่นข้อเรียกร้อง เป็นคำสั่งที่แก้ไขข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ซึ่งมีการนัดหยุดงานหรือมีการปิดงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นการยกเลิกการนัดหยุดงานและการปิดงานที่ดำเนินการอยู่ แล้วมอบข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดในระหว่างการนัดหยุดงานหรือการปิดงานของนายจ้างหรือลูกจ้างที่กระทำผิดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหรือต่อบุคคลภายนอก คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงไม่มีผลทำให้อำนาจในการดำเนินคดีนี้ของผู้ร้องที่ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสาม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดแล้วไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์อีกได้ และการฟ้องเรียกเงินยืมทดรองจ่ายตามสัญญาจ้าง
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนั้นทนายจำเลยได้มาศาลและลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้โดยมิได้ติดใจโต้แย้งในขณะนั้นหรือในระยะเวลาต่อมาตามที่กฎหมายกำหนดขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพิ่มเติมแต่ประการใดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดจำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ว่ากล่าวอีกและปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพ.เป็นเพียงพนักงานของโจทก์มิใช่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่จะมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ดังนี้ปัญหาที่จำเลยอาศัยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องต่อไปอีกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ10ปีฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและลักษณะการจ้างงาน: คดีเกิดขึ้นในไทย แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนา และสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้ายค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยโจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา33. แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัทท.จะกำหนดเวลาไว้แน่นอนแต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทท.คราวใดคาวหนึ่งการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานกลางในคดีจ้างงานต่างประเทศ และการจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้าย ค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 33.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานกลางกรณีจำเลยต่างชาติ และการจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานล่วงเวลา สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทย แม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 33.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว ย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเอง สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำ ณ ที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใด ต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน จะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลย ซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์ แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ