พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13710/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินรางวัลพิเศษของพนักงาน: ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) หากจ่ายจากประมาณการรายได้ ไม่ใช่จากกำไรสุทธิ
การจ่ายเงินโบนัสของโจทก์เป็นการจ่ายโดยคำนึงจากยอดรายได้อันเป็นผลการปฏิบัติงานของโจทก์โดยรวม มิใช่กำหนดจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว จึงไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การบันทึกรายได้ขาดบัญชี, ค่าโบนัส, และเบี้ยปรับ
ในชั้นตรวจสอบภาษีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของจำเลยตรวจพบว่าในรอบระยะเวลาบัญชี 1 พฤษภาคม 2534 ถึง 30 เมษายน 2535 โจทก์มีรายได้จากการให้เช่าอาคารพาณิชย์จำนวน 3,732,650 บาท โจทก์ได้นำรายได้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์บันทึกบัญชีรายได้และแสดงในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ไว้ถูกต้องแล้ว แต่โจทก์ยื่นรายได้ในส่วนของค่าห้องพัก รายได้จากากรขายและอื่น ๆ รวมทั้งค่าบริการโทรศัพท์และเทเล็กซ์ขาดไปจำนวน 3,764,745.13 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานตรวจสอบของจำเลยได้หมายเรียกโจทก์ให้มารับทราบผลการตรวจสอบ โดยแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้นำรายได้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์มาบันทึกเป็นรายได้ ทำให้รายได้จากการให้เช่าอาคารพาณิชย์ขาดบัญชีไปเป็นจำนวน 3,764,745.13 บาท เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจสอบแจ้งผลการตรวจสอบผิดพลาด และในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ระบุเพียงว่าโจทก์บันทึกรายได้ขาดบัญชี 3,764,745.13 บาท โดยมิได้มีรายละเอียดอื่นใดเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลว่าโจทก์บันทึกรายได้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ถูกต้องแล้ว ดังนั้น การประเมินในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (19) บัญญัติว่า รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ไม่ให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งหมายถึงรายจ่ายใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีข้อกำหนดหรือหลักเกณฑ์การจ่ายจากผลกำไรเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่คำนึงว่าโบนัสนั้นจะจ่ายเป็นอัตราร้อยละของผลกำไร หรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือนที่พนักงานแต่ละคนได้รับพฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นว่าการจ่ายเงินโบนัสของโจทก์เป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เพราะเป็นการใช้ผลกำไรเป็นฐานในการกำหนดการจ่ายเงินโบนัสของโจทก์ จึงฟังได้ว่ารายจ่ายของโจทก์ที่จ่ายเป็นค่าโบนัสจำนวน 1,570,610 บาท เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากผลกำไรเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (19) โจทก์ไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิได้
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (19) บัญญัติว่า รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ไม่ให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งหมายถึงรายจ่ายใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีข้อกำหนดหรือหลักเกณฑ์การจ่ายจากผลกำไรเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่คำนึงว่าโบนัสนั้นจะจ่ายเป็นอัตราร้อยละของผลกำไร หรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือนที่พนักงานแต่ละคนได้รับพฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นว่าการจ่ายเงินโบนัสของโจทก์เป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เพราะเป็นการใช้ผลกำไรเป็นฐานในการกำหนดการจ่ายเงินโบนัสของโจทก์ จึงฟังได้ว่ารายจ่ายของโจทก์ที่จ่ายเป็นค่าโบนัสจำนวน 1,570,610 บาท เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากผลกำไรเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (19) โจทก์ไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายโบนัสพิเศษไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) หากไม่ได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรสุทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วยปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่าค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวคำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงานรายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าบริการจัดการ vs. ค่าบริการเพิ่ม (Incentive Fee) และการตีราคาหุ้นสูญหาย
การคำนวณกำไรสุทธิ ในรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520 โจทก์หักค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเป็นเงินค่าธรรมเนียมการบริหารงานให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์ เป็นเงิน 3,798,000 บาทเจ้าพนักงานประเมินให้ถือเป็นรายจ่ายได้เพียง 300,000 บาทแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดและมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มอีกรวม78,210.44 บาทนั้นเมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งจึงไม่ชอบที่จะพิจารณาในคดีนี้อีก
การที่ใบหุ้นสูญหายหาทำให้สิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้นระงับหรือหมดไปไม่ สิทธิในหุ้นของโจทก์มีอย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนี้โจทก์จะตีราคาหุ้นสำหรับใบหุ้นที่หายแล้วลงจำหน่ายเป็นหนี้สูญเพื่อคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (9) หาได้ไม่
ค่าบริการเพิ่ม (INCENTIVEFEE) ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่า โจทก์จะต้องจ่ายให้เป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินที่โจทก์มีพอ หลังจากที่ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 ของทุนที่จดทะเบียนแล้วอันเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
การที่ใบหุ้นสูญหายหาทำให้สิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้นระงับหรือหมดไปไม่ สิทธิในหุ้นของโจทก์มีอย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนี้โจทก์จะตีราคาหุ้นสำหรับใบหุ้นที่หายแล้วลงจำหน่ายเป็นหนี้สูญเพื่อคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (9) หาได้ไม่
ค่าบริการเพิ่ม (INCENTIVEFEE) ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่า โจทก์จะต้องจ่ายให้เป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินที่โจทก์มีพอ หลังจากที่ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 ของทุนที่จดทะเบียนแล้วอันเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าเดินทางส่วนตัว, ค่ารับรองไม่มีหลักฐาน, ค่าของขวัญ และโบนัสจากกำไร
รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งใช้จ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัวของกรรมการผู้นั้น มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทย่อมไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (3)(13) รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65ตรี (3) เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65ตรี (19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรที่ไม่ถูกต้องมาหักลดหย่อน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2). ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19)ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19)ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าส่วนแบ่งกำไรเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี: รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ผู้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันมีกำไรสำหรับการดำเนินการในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และปี พ.ศ. 2516 โจทก์ แบ่งผลกำไรร้อยละ 25 ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เงินกำไร ที่แบ่งให้นั้นจึงเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) แม้จะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าตามสัญญาเช่า ก็ตาม ก็ไม่ยกเว้นให้กระทำได้
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงของผู้ฟ้องคดีในคดีภาษีอากร หากไม่นำสืบย่อมแพ้คดี
โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรกับพวกเป็นจำเลย อ้างว่าการที่โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าป่วยการให้แก่ ป. เป็นการจ่ายเพื่อหากำไรมาให้โจทก์และโจทก์ได้จ่ายให้ ป. รับไปเป็นคราว ๆ มิใช่จ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้จ่ายไปนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และให้จำเลยคืนเงินค่าภาษี จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงว่าเป็นดังที่โจทก์อ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในเงินดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่นำสืบก็ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนต้องเกิดเป็นทุนรอน ส่วนบำเหน็จกรรมการและเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ถือเป็นรายจ่ายตามกฎหมายภาษี
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่จะเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัทรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้นเป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19)(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้นเป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19)(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)