พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,044 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันคดีถึงที่สุด: การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยแต่ละคนฟังแยกกันไม่กระทบผลถึงที่สุด
ขณะศาลฎีกาส่งคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำเขาบิน จังหวัดราชบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรม การที่ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลจังหวัดราชบุรีอ่านให้จำเลยที่ 1 ฟังก่อน แล้วจึงอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟัง จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟังโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 จำเลยที่ 2 จะกล่าวอ้างว่า การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ฟัง ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ เมื่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติเพียงว่า คำพิพากษามีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป โดยมิได้บัญญัติว่า คดีถึงที่สุดเมื่อใด จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 147 มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟังเมื่อ 18 กันยายน 2555 คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยระบุว่าคดีถึงที่สุดวันที่ 18 กันยายน 2555 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14953/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา แม้ศาลอนุญาต ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ครบกำหนดที่คู่ความต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 แต่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด การนับเวลาที่ขยายออกไปต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 อันเป็นวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/7 จึงครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 26 สิงหาคม 2556 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว และเมื่อตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 2 ครั้ง จนกระทั่งจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน เป็นเหตุให้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14503/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีละเมิดเครื่องหมายการค้า โดยอ้างเหตุไม่ทราบว่าเป็นสินค้าปลอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากขัดกับคำรับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าโทรศัพท์จำนวน 1 เครื่อง ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "NOKIA" ของบริษัท น. ผู้เสียหาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามคำฟ้องดังกล่าว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยกลับอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด เพราะจำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้างขายสินค้า มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์ ไม่ทราบแหล่งที่มาของโทรศัพท์ของกลาง รวมทั้งไม่ทราบว่าโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยทำงานเป็นพนักงานขายโทรศัพท์ที่ร้านเกิดเหตุชื่อร้าน จ. เพียงสองเดือนเศษก่อนถูกจับกุม จึงไม่มีความถนัดรอบรู้ในชนิดสินค้าที่เพิ่งรับหน้าที่ขาย ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14252/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ฎีกาคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 หลังมีคำสั่งให้แก้ไขฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 แล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะวินิจฉัยคำร้องของจำเลยดังกล่าวในรูปแบบของคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งคำร้องขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนไปจากศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยังต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อนแล้วมีคำสั่งใหม่ จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นอีก จึงเป็นฎีกาคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์หลังกำหนด-เหตุผลไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2557 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 1 เดือน อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับถ้อยคำสำนวนและคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไว้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการทางธุรการ กรณีเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งจำเลยขอขยายได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ข้ออ้างตามคำร้องถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองที่ไม่ติดตามเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้แต่เนิ่น ๆ จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้ทนายจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 27 กันยายน 2557 และเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 กันยายน 2557 ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบเช่นกัน และไม่ก่อให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13105/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีซ้ำในประเด็นเขตที่ดินพระราชทาน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ และ ป.วิ.พ. มาตรา 144 ได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้นอีก ซึ่งเป็นหลักการตรวจสอบทำนองเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงนำเรื่องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับในการดำเนินคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้โดยอนุโลม
โจทก์ร่วมเคยฟ้องจำเลยเรื่องบุกรุกที่เกิดเหตุสถานที่เดียวกันกับคดีนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทาน หากคดีนี้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า มีพยานหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ได้ว่าที่เกิดเหตุคดีนี้อยู่นอกเขตที่ดินพระราชทาน ศาลก็ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานหรือไม่ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงชอบแล้ว
โจทก์ร่วมเคยฟ้องจำเลยเรื่องบุกรุกที่เกิดเหตุสถานที่เดียวกันกับคดีนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทาน หากคดีนี้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า มีพยานหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ได้ว่าที่เกิดเหตุคดีนี้อยู่นอกเขตที่ดินพระราชทาน ศาลก็ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานหรือไม่ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12750/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทน จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ อันถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.จัดปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เข้ารื้อถอนที่พักอาศัยของโจทก์และทำลายทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวโดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป และมาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าวพิพากษาลงโทษโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว แสดงว่าไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาย่อมมีผลบังคับแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์หามีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว จึงขอให้บังคับแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการบังคับคดีในคดีอาญาดังกล่าว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป และมาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าวพิพากษาลงโทษโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว แสดงว่าไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาย่อมมีผลบังคับแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์หามีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว จึงขอให้บังคับแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการบังคับคดีในคดีอาญาดังกล่าว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10173/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาจำเลย และผลของการส่งหมายนัดผิดพลาดต่อสิทธิในการฎีกา
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ" ไว้ว่า หมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) บัญญัติว่า "จำเลย" หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ฉะนั้นทนายจำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นจำเลยที่ 2 หรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้แก่ทนายจำเลยที่ 2 เป็นการส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9821/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องแจ้งภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบข้อเท็จจริงที่ทำให้เสียหาย มิฉะนั้นขาดสิทธิอ้าง
คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 28 มกราคม 2557 ที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบเพราะบ้านของจำเลยซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องยังไม่ได้รื้อถอนและจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวตลอดมา อันเป็นการยกข้ออ้างที่ทำให้จำเลยไม่ทราบว่าศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ออกหมายจับจำเลยและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่จำเลยเพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นด้วย ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าเมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2556 จำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดภูเก็ตว่า จำเลยแพ้คดีโดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาตั้งแต่ต้นปี 2556 และต่อมาประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 จำเลยให้ทนายความติดตามรายละเอียดของสำนวนคดีจึงทราบว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบ จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบตามคำร้องดังกล่าวของจำเลยจากทนายความตั้งแต่ประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิยกขึ้นอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9346/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดขอบเขตการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นตามฟ้อง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ถนนที่จำเลยจอดรถมีสภาพมืดไม่มีแสงส่องสว่าง จำเลยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้ายและโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์เพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ใช้ยานพาหนะเห็นรถที่จอดได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร อันเป็นองค์ประกอบของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า รถบรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับมีเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ของรถขัดข้อง ทั้งมิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 56 แต่อย่างใด แต่ศาลชั้นต้นกลับวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้แสดงเครื่องหมายตามลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 5 และ 56 วรรคสอง ข้อ 2 (1) ข้อ 3 และข้อ 6 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถบรรทุกนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณในกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ เนื่องจากเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง โดยมีเครื่องหมายทำด้วยแผ่นโลหะรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยาวไม่ต่ำกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ติดด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาว ขอบสีแดง กว้าง 5 เซนติเมตร มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หัวท้ายมน อยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่งพร้อมขาตั้ง โดยให้ฐานของรูปสามเหลี่ยมขนานกับพื้นไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และไม่ได้ให้สัญญาณเป็นไฟกระพริบสีเหลืองอำพันหรือสีขาวติดอยู่หน้ารถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และสัญญาณไฟกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันติดอยู่ท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา รวมทั้งไม่ได้ตั้งวางกรวยสัญญาณจราจร กองกิ่งไม้หรือวัตถุอื่นใดไว้ด้านท้ายรถของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นก็ยังมิได้วินิจฉัยเลยว่า จำเลยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ อันเป็นองค์ประกอบของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะปรับบทลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ตรงตามคำขอของโจทก์ แต่ก็เป็นการมิชอบเช่นกันเพราะเป็นคำพิพากษาที่ไม่ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับเข้าข้อกฎหมาย ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6)
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ และพิพากษายกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ด้วย ดังนี้ โจทก์จะฎีกาว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความยืนยันว่า จำเลยจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุโดยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ จำเลยจึงกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 หาได้ไม่ เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่โจทก์ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง, 148 วรรคหนึ่ง กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า จำเลยจอดรถในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ปรากฏจากภาพถ่ายว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดอยู่ในลักษณะเกือบชิดเส้นทึบริมขอบทางด้านซ้าย ซึ่งสอดคล้องกับที่ได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจตรี ป. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดค่อนข้างชิดไปทางซ้าย และเชื่อได้ว่าในช่องเดินรถทางด้านขวาของตัวรถยังมีพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้ และพิพากษายกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 ด้วย ดังนี้ โจทก์จะฎีกาว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความยืนยันว่า จำเลยจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุโดยไม่ได้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ จำเลยจึงกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61, 151 หาได้ไม่ เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่โจทก์ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง, 148 วรรคหนึ่ง กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า จำเลยจอดรถในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ปรากฏจากภาพถ่ายว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดอยู่ในลักษณะเกือบชิดเส้นทึบริมขอบทางด้านซ้าย ซึ่งสอดคล้องกับที่ได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจตรี ป. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมว่า รถบรรทุกสิบล้อของจำเลยจอดค่อนข้างชิดไปทางซ้าย และเชื่อได้ว่าในช่องเดินรถทางด้านขวาของตัวรถยังมีพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว