พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,044 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลขยายเวลาให้ยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกได้
โจทก์ร่วมยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 มิใช่เป็นกรณีที่ต้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาให้ถูกต้องภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ร่วมทิ้งคำร้อง อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นคำร้องที่ถูกต้องวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น และยืนตามคำพิพากษาเดิมในคดีพยายามฆ่า
การวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกข้อเท็จจริงตามฎีกาขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายทะเลาะวิวาทกับจำเลยมาก่อนแล้วผู้เสียหายมารอจำเลยที่บ้านของบิดาจำเลยโดยพร้อมที่จะทะเลาะวิวาทกับจำเลย จำเลยจึงเกิดโทสะเข้าชกต่อยผู้เสียหายแล้วจำเลยพลั้งมือหยิบอาวุธมีดขนาดเล็กเหวี่ยงไปทางผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานใดให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว อีกทั้งทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิพากษาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณวันคำพิพากษาถึงที่สุดเพื่อขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยึดตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ตามวันที่ศาลอนุญาตขยายเวลา
การร้องขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 นั้น เจ้าของที่แท้จริงซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิร้องขอคืนของกลางต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" นี้ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งใดซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง..." ซึ่งก็คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 และมาตรา 216 ในกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกาแล้วมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ วันคำพิพากษาถึงที่สุดย่อมต้องกลับไปใช้ระยะเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมาย คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง คดีนี้เมื่อมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความความฟัง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 โจทก์และจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฎีกาได้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ขอขยายระยะเวลาฎีกา และมิได้ใช้สิทธิฎีกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาและศาลชั้นต้นอนุญาตถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 แต่โจทก์มิได้ฎีกา คำพิพากษาย่อมถึงที่สุดในวันที่ 15 มีนาคม 2564 อันเป็นวันครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความฟัง สิทธิของผู้ร้องที่จะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 มิใช่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษและค่าสินไหมทดแทนในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การยื่นฎีกาในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคสอง และมาตรา 223 บัญญัติให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ศาลชั้นต้น จึงมีอำนาจตรวจฎีกา และเมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปในคำฟ้องฎีกาเสียทีเดียวได้ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์และการกระทำเป็นกรรมเดียว
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 91 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงผู้เสียหายที่ 3 โอนเงินชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อนั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ฐานโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฐานร่วมกันปลอมเอกสารและฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอม จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกา
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา: การควบคุมตัวผู้เสียหาย/พยาน และการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่ผู้เสียหายทั้งหกมาเบิกความภายหลังแม้จะขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง แต่ก็เป็นการเบิกความเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลอย่างไรทำไมถึงให้การชั้นสอบสวนและเบิกความต่อศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงไว้เช่นนั้น หาใช่เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยดังที่โจทก์ฎีกาไม่ แม้คดีอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลย ซึ่งโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมจะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 228 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างไม่ควรรับฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร คดีนี้จำเลยนำสืบปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การชั้นสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องไปโดยถูกควบคุมตัว ข่มขู่ ไม่ให้กลับบ้านและพบบิดามารดา คำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความดังกล่าวไม่ควรรับฟัง เมื่อทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานผู้เสียหายทั้งหก หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยนำผู้เสียหายทั้งหกเข้าเบิกความตามมาตราดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาได้ หาจำต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตฎีกาตามกฎหมาย และมีประเด็นต้องห้ามมิให้ฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าว จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวโดยตรง และรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่า "สั่งในฎีกา" และมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยว่า "จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายให้โดยมาแสดงตนต่อศาล รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาฎีกา ปิดได้" จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสียและมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่ง ทั้งนี้ แม้คำร้องของจำเลยจะมีใจความทำนองว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า
แม้การให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 24 เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม แต่ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีนี้ไม่มีการสืบพยานให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ชอบแล้ว
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีปลอม: ความรับผิดทางอาญาแยกจากความรับผิดทางแพ่ง แม้ชำระภาษีแล้วก็ยังมีความผิดอาญา
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิด ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งขัดแย้งกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.รัษฎากร บัญญัติให้ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม ต้องรับผิดทางแพ่งโดยเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 (7) และ 89/1 และต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 90/4 (7) อีกทางหนึ่งด้วย การที่จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามฟ้อง ข้อ 1.3 และ 1.4 ครบถ้วนก็เป็นเรื่องของความรับผิดทางแพ่งมีผลให้หนี้ภาษีอันเป็นหนี้ทางแพ่งระงับ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับความรับผิดทางอาญาหาใช่ทำให้ความรับผิดทางอาญาระงับไปด้วยไม่
ป.รัษฎากร บัญญัติให้ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม ต้องรับผิดทางแพ่งโดยเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 (7) และ 89/1 และต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 90/4 (7) อีกทางหนึ่งด้วย การที่จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามฟ้อง ข้อ 1.3 และ 1.4 ครบถ้วนก็เป็นเรื่องของความรับผิดทางแพ่งมีผลให้หนี้ภาษีอันเป็นหนี้ทางแพ่งระงับ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับความรับผิดทางอาญาหาใช่ทำให้ความรับผิดทางอาญาระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดียาเสพติด: การให้ข้อมูลเป็นประโยชน์, กฎหมายใหม่, และการเพิ่มโทษ
แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่ามีการนำสืบกันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประเด็นแห่งคดี คดีนี้จำเลยมิได้ยื่นคำร้องหรือแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลสำคัญในคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จนสามารถขยายผลจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าว หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงในการจับกุมนั้นไม่ปรากฏในทางนำสืบของพยานโจทก์และคำให้การจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3